และสื่อสารให้ประชาชนเข้มมาตรการป้องกันตัวเอง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ยืนยันไม่ส่งผลกระทบกับโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานและยังไม่ได้รับวัคซีน ไม่ใช่กลุ่มนักท่องเที่ยว
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การลงพื้นที่เชิงรุก ของ CCR Team จากเขตสุขภาพที่ 11-12 จำนวน 9 ทีม กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนที่พบคลัสเตอร์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ใน จ.ภูเก็ต ผลปฏิบัติการวันที่ 21-22 กันยายน 2564 รวม 2 วัน ตรวจเชื้อไป 4,174 คน พบผลบวก 212 คน หรือคิดเป็น 5.07% ส่วนใหญ่เข้ารับการดูแลในระบบ HI/CI โดยผู้ที่มีอาการได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ทันที ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาเร็ว ลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับกลุ่มแรงงานและคนในชุมชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน 538 คน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
สำหรับการพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในจังหวัดภูเก็ตนั้นส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานภายในพื้นที่และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ไม่ใช่นักท่องเที่ยวจากโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวต่างชาติร่วมโครงการฯ เดินทางเข้ามารวม 35,169 คน พบผู้ติดเชื้อเพียง 101 คน ยืนยันว่าไม่กระทบต่อภาพรวมการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวจากโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ เนื่องจากรัฐบาลได้ออกแบบรูปแบบการท่องเที่ยวและมีมาตรการทางสาธารณสุขที่รัดกุม เช่น การคัดกรอง การตรวจหาเชื้อ การเข้าพำนักในสถานประกอบการที่ได้รับมาตรฐาน SHA+ ตามระยะเวลาที่กำหนด และนักท่องเที่ยวทุกคนต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอย่างเคร่งครัด
กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งรัดการควบคุมโรคภายใน จ.ภูเก็ต ให้ได้โดยเร็ว และจะฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้ฉีดไปแล้วเกือบ 80% ของประชากรเป้าหมาย รวมถึงนัดหมายให้ประชาชนบางส่วนที่ครบกำหนดเข้ารับการฉีดวัคซีนกระตุ้นในเข็มที่ 3 เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน รวมถึงสื่อสารให้คนในพื้นที่เข้มงวดตามมาตรการป้องกันตัวเองขั้นสูงสุด Universal Prevention และคิดว่าคนรอบข้างเสมือนเป็นผู้ติดเชื้อ เพื่อความปลอดภัยตนเอง ชุมชน สังคม นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวได้อย่างปลอดภัย คนในพื้นที่ใช้ชีวิตปลอดภัยภายใต้รูปแบบ New Normal และเป็นจังหวัดต้นแบบของการเปิดประเทศให้กับจังหวัดอื่นๆ ต่อไป