นายสันติ อาภากาศ CEO / CO-FOUNDER BIO BUDDY และ TASTEBUD LAB คณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต (PFC) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เรียบเรียงและสรุปไอเดียสำคัญจากงาน“WHERE IS THE FUTURE OF FUTURE FOOD 2021”ดังนี้
เมื่อวิกฤตโควิดรอบที่3 ชวนเราตั้งคำถามธุรกิจ บนความไม่มั่นคงในชีวิตมนุษย์สู่การปรับตัวของธุรกิจที่ต้องมองหาโอกาสในอนาคตที่ไม่แน่นอน แล้วอะไรคือโอกาสธุรกิจและการปรับตัวของธุรกิจในอนาคตที่ไม่แน่นอน? โอกาสทางธุรกิจที่สำคัญที่สุด จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ท้าทายในด้านอาหารแห่งอนาคต เพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์
หากจะพูดถึงอาหารอนาคต หรือ Future Food ที่จะสามารถนำมาคิดเป็นแนวคิดทางธุรกิจได้ อยากชวนให้มองไปมากกว่าความหมายของอนาคตที่เป็นอาหารแคปซูล อาหารผ่านเทคโนโลยี วิศกรรมอาหาร อาหารที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฎิบัติการและผสมผสาน นวัตกรรมเข้าไปแต่จริงๆแล้วหัวข้อการมองโอกาสของธุรกิจและการพัฒนาอาหารอนาคต หรือ Future Food มีโจทย์ที่ท้าทายมาก โดยมองผ่าน 3 เลนส์ การพัฒนาด้าน Future Food ด้วยกัน ดังนี้
1.ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของมนุษย์ ประชากรศาสตร์(Global Population/Demographic)
ประชากรโลกในอนาคต รายงาน The World Population Prospects ปี 2019 โดยฝ่ายเศรษฐกิจและกิจการสังคมของสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.7 พันล้านคนภายในปี 2050 โดยวิเคราะห์จากอัตราการเกิดและตาย ตลอดจนการกระจายทางภูมิศาสตร์ อายุและรายได้ ถึงแม้อัตราการเกิดจะลดน้อยลงแต่เนื่องจากสัดส่วนของอายุประชากรที่ยืนยาวขึ้นจึงทำให้จำนวนประชากรโลกขยายตัว ด้วยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของมวลประชากรโลก และอายุประชากรที่ยืนยาวขึ้น ส่งผลถึงความต้องการทางด้านกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เด็กเกิดใหม่แพ้อาหาร ประชากรวัยกลางคนเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพเร็วขึ้นรวมถึงความต้องการด้านอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
2. ความท้าทายกับสภาพแวดล้อมที่มนุษย์จะดำรงอยู่ได้ ดินน้ำอากาศ (Environment) สภาพสิ่งแวดล้อมปัจจัยที่สําคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับปัจจัยที่สําคัญต่อการดํารงอยู่ของโลกที่มนุษย์จะสามารถดํารงอยู่ได้ อย่างดิน น้ำ อากาศ ล้วนมีสาเหตุมาจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหารมากกว่า 26% ของปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกร้อน ภัยธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มากเกินไป ซึ่งเพียงตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คงจะทําให้เราได้เริ่มตระหนักคิดถึง การสร้างโซลูชั่นที่เกี่ยวการผลิต แปรรูป กระจายอาหารและเริ่มต้นสร้างทางเลือกในการบริโภค สู่ความมั่นคงยั่งยืนในสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงยั่งยืนของห่วงโซ่อาหาร
3. การพัฒนาด้านความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ (Wellbeing)ธุรกิจอาหารนอกจากจะเป็นปัจจัยพื้นฐานยังเป็นฐานที่สําคัญของความสุขความพึงพอใจใน การใช้ชีวิต ตอบความต้องการในด้านความสุขความพึงพอใจ ความรู้สึกปลอดภัย ฐานความสําคัญต่อสุขภาพโดยรวมและความต้องการที่กล่าวมานั้นได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด 19 ตลอดจนข้อมูลมหาศาลทั้งด้านสุขภาพและด้านข้อมูล ความต้องการส่วนบุคคล เช่น ที่ปัจจุบันเราสวมใส่อุปกรณ์เพื่อช่วยติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ สุขภาพของเรากันมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างในประเทศจีน กว่า 88% สนใจที่จะติดตามข้อมูลการเผาผลาญพลังงานของตน
ขณะที่ในอังกฤษ กว่า 49% สนใจในการติดตามเข้าถึงข้อมูลด้านการกินการออกกําลังกายเพื่อนํามาปรับเสริมสุขภาพของตนเอง จากตัวอย่างเหล่านี้เอง ด้านข้อมูลบิ๊กเดต้าของผู้บริโภค ตลอดจนการเก็บ การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับ ชีววิทยาและ การที่ผู้บริโภคเข้าใจเกิดความลึกถึงความต้องการ ระดับบุคคล ในขณะที่ผู้ผลิตจะสามารถเข้าใจถึงความต้องการเชิงลึกเพื่อมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี นวัตกรรมสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม รูปแบบการบริการ ตลอดจนสมาร์ทโฮมโซลูชั่น และเครื่องครัวที่จะมาตอบสนองตนเองและผู้บริโภคได้เฉพาะเจาะจงจนนําไปสู่โซลูชั่นใหม่ในด้านอาหารในอนาคต
เมื่อลองมองผ่านทั้ง 3เลนส์ด้านการพัฒนา Future Food และมองถึงอุตสาหกรรมด้านอาหารแห่งอนาคตเราจะเริ่มเห็นได้ว่าเทคโนโลยีและโซลูชั่นด้านอาหารอนาคตจากสตาร์ทอัพ และองค์กรต่างๆ ที่เราเริ่มเห็นและได้ลิ้มรส สัมผัสนั้นล้วนอยู่ภายใต้ แนวความคิดบน 3เลนส์นี้
ซึ่ง 3 หมวดหมู่หลักในธุรกิจ สตาร์อัพด้านอาหารแห่งอนาคตที่เติบโตและเริ่มเปลี่ยนแปลงโลกแล้วจะประกอบไปด้วย
1.โปรตีนทางเลือก (ALTERNATIVE PROTEIN & NOVEL MEAT) เป็นการพัฒนาทางเลือกในด้านของโปรตีนที่เป็น macronutritien หรือที่เป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ เมื่อมีจํานวนมนุษย์ที่ต้องการโปรตีนสูงที่สุดในประวัติการ การผลิตโปรตีนในรูปแบบเดิมตามธรรมชาติและการปศุสัตว์อุตสาหกรรมในโลกปัจจุบันได้ถูกท้าทาย จึงเป็นที่มาแนวคิดและการเกิดธุรกิจสตาร์ทอัพ ด้านการผลิตของแหล่งโปรตีนใหม่ การสร้างทางเลือกทีมีประสิทธิภาพมากกว่าในการผลิตโปรตีน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและตลอดจนการสร้างทางเลือกที่ทดแทนเนื้อสัตว์ไม่ใช่แต่ด้านสารอาหารแต่ให้ความสุข ความสบายใจในการบริโภค
จึงเป็นที่มาของโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนจากพืช โปรตีนจากแมลง โปรตีนจากการเพาะเซลของสัตว์โดยปัจจุบันมีการประมาณการมูลค่าธุรกิจในกลุ่มโปรตีนทดแทนทางเลือก มากกว่า1แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าสัดส่วน ด้านส่วนครองตลาดแซงหน้าเนื้อสัตว์ตามธรรมชาติในปี 2040 ยกตัวอย่างสตาร์อัพขับเคลื่อนเทรนอย่างมากในกลุ่มแพลนท์เบสมีท ระดับโลกประเทศอย่าง Beyond Meat ที่เสนอสินค้าเบอร์เกอร์และผลิตภัณฑ์แพลนท์เบสทดแทนเนื้อสัตว์ที่ให้ รสชาติ กลิ่น เนื้อสัมผัสและโปรตีนและในประเทศไทย
อาทิเช่น MOREMEAT Let’s PLANT MEAT และ MJ ที่เริ่มทําตลาดสร้างทางเลือกหลากหลายให้ผู้บริโภคจากการนําเสนอ แพลนท์เบสโปรตีน และแพลนท์เบสมีทตลอดจนสตาร์ทอัพที่น่าจับตามองการเติบโตและการขยับในก้าวใหญ่ต่อไป อย่าง EAT JUST ที่สร้างความตื่นเต้นจากผลิตภัณฑ์ไข่แพลนท์เบส ที่นอกจากจะสร้างยอดขายทะลุแสนล้านชิ้น ยังเป็นเจ้าแรกของโลกที่ได้ใบอนุญาติและเริ่มขายนักเกตไก่ที่เพาะจากเซลของไก่ เปิดทางบูม ตลาด Cellular Meat ( ในหมวดหมู่ Cellular Agriculuture) ในประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง
สิงค์โปรเมื่อต้นปีนี้
2.ตอบความต้องการสุขภาพเฉพาะบุคคล (PERSONALIZATION) อาหาร เครื่องดื่ม ส่วนประกอบอาหารที่โฟกัสตอบความต้องการสุขภาพเฉพาะบุคคล (Personalised Nutritions) การพัฒนาแพลตฟอร์ม ระบบปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนสินค้าที่จะมาตอบโจทย์ความต้องการจากช่วงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้ชีวิต มุมมองต่ออาหารกับการใช้ชีวิตที่ทำให้จิตใจและร่างกายมีความต้องการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวด เร็วและตามที่ชวนคิดชวนคุยไว้ข้างต้นถึงในด้านของสิ่งแวดล้อมก็เผชิญความท้าทายในด้านของการผลิต รวมทั้งเมื่อผู้บริโภคเข้าใจความต้องการของร่างกาย เข้าใจด้านโภชนาการที่จําเป็นกับตนเองเชิงลึกยิ่งๆขึ้น จึงเป็นที่มาของความต้องการสารอาหารที่เฉพาะของแต่ละบุคคล
เราจะเริ่มเห็นการใช้นวัตกรรมจากเทคโนโลยีชีวภาพ(Bio Technology) ที่ผสานการพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และด้านการพัฒนาสารสกัดจากที่จะมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จนมาเป็นหัวใจหลักส่วนผสมอาหาร เครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะผสานข้อมูลด้านสุขภาพและพัฒนาทางเลือกอาหารที่ตอบโจทย์เฉพาะบุคคลได้เจาะลึกมากขึ้น (Food Personalization) เช่นในต่างประเทศจะเริ่มเห็นผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มพร้อมทานที่จะตอบโจทย์แต่ละบุคคลอย่างเครื่องดื่มที่ช่วยคนทํางานโฟกัส ในการทํางานช่วงบ่ายที่พลังงานตกลงได้ดียิ่งขึ้น
และในประเทศเราที่ล่าสุด บริษัท BBGI ได้เตรียมพัฒนาตลาดสร้างทางเลือกด้านส่วนผสมอาหาร หรือสารทดแทนความหวานเพื่อสุขภาพจากเทคโนโลยีชีวภาพเปิดโอกาสให้ประเทศเราเข้าสู่ด้าน Deep Bio Technology และสตาร์ทอัพไทยอย่าง Juice Innov8 ที่มองว่าการสร้างโซลูชั่นลดนํ้าตาลที่อยู่ในนํ้าผลไม้ตามธรรมชาติจะสร้างทางเลือกที่เหมาะกับประชากรในโลกอนาคตซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าทั้งหมดเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลที่สามารถนับรวมได้ทั้งตลาดผู้บริโภค (D2C: Direct to Consumer) และหากนับที่สามารถช่วยตอบโจทย์กับกฎหมายเกี่ยวกับปริมาณนํ้าตาลในตลาดอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
ซึ่งในอนาคตหากได้มาแลกเปลี่ยนในด้านการ ผสาน (integrate: Digital Technology+Bio Technology) ให้เป็นโซลูชั่นแบบเจาะจงแบบอนาคตที่ไม่แพ้ในหนังไซไฟที่ฉายภาพโลกในอนาคต “ตรงนี้สนุกมากจะเป็นอีกพรมแดนที่เราน่าจะชวนกันนําพาสตาร์ทอัพ มาสร้าง Future of Food Solution ผ่านการทํา Integration ที่โลกต้องการกันครับ”
3.ประสิทธิภาพสมดุลสิ่งแวดล้อม กระบวนการ เทคโนโลยี แพลตฟอร์ม ซุปเปอร์แอปและโซลูชั่น ที่จะมาช่วยพัฒนาประสิทธิภาพด้านการผลิตอาหาร แปรรูปอาหาร ตลอดจนการกระจาย ส่งต่ออาหารให้ถึงมือผู้บริโภค (Production Efficiency and Supply Chain Efficiency)ได้อย่างตรงตาม 3เลนส์สําคัญ ที่จะช่วยตอบโจทย์กับประชากรแต่ล่ะกลุ่มได้ ลดผลกระทบและการสูญเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทําให้ผู้บริโภคได้รับความสุข ตามที่เราได้เห็นการบูมของ ตลาด Agtech & FoodTech หลังสตาร์ทอัพด้านระบบข้อมูล (Big Data) ด้านเกษตรอย่าง Climate Corp.ที่มีมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อขายให้กับยั กษ์ใหญ่อย่าง Monsanto และอย่างที่เราเห็นการเติบโต ได้ใช้บริการในประเทศ จนถึงภูมิภาคเอเชียกับแพลตฟอร์มฟู๊ดเทคอย่าง GrabFood
เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์มีความต้องการรูปแบบการผลิตและการกระจายอาหารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากซุปเปอร์แอปดังที่กล่าวไปข้างต้น วันนี้เราจะเริ่มได้เห็นโซลูชั่นมากมายที่ร่วมกันเข้ามาสร้างโจทย์และคอมมูนิตี้ในด้านนี้ที่เฉพาะกลุ่มหมวดหมู่ กลุ่มผู้ใช้บริการมากยิ่งๆขึ้น ขอยกตัวอย่างที่ชัดเจนการสร้างแอปและคอมมูนิตี้ ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน ได้มีการเปิดตัวแอปพลิเคชั่นแพลตฟอร์มที่เจาะจงการสร้างกลุ่มผู้ซื้อ ผู้ใช้เจาะจงในกลุ่มเกษตรที่ยั่งยืน เกษตรปลอดภัยต่อผู้บริโภคที่ชื่อว่า KASPY ภายใต้หัวเดียวนี้ยังมีหลายตัวอย่างที่น่าสนใจ ทั้งในด้านของการพัฒนาโมเดลการเพาะปลูกแห่งอนาคต อุปกรณ์ไร้คนขับ หลากหลายรูปแบบ ตลอดจนการออกแบบการผลิตการส่งอาหารแห่งอนาคต
และกระบวนการนั้นหมายถึงว่าแม้ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นระบบการผลิตอาหารที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนก็เป็นส่วนหนึ่งของเทรนด้านอาหารอนาคตภายใต้หัวข้อนี้เช่นกัน อย่างที่ส่วนตัวชื่นชมและติดตามระบบการเลี้ยงหมูแบบไบโอไดนามิค ครั้งแรกของประเทศไทยที่ ว.ทวีฟาร์ม ทั้งหมดนี้คือโอกาสมหาศาลในประเทศและในภูมิภาคให้องค์กรไทย เกษตกรไทย SMEไทย สตาร์ทอัพไทยได้พัฒนาโซลูชั่นที่เป็นมากกว่าเครื่องมือไฮเทค เพื่อมาเสริมแกร่ง สร้างความมั่นคงยั่งยืนครบรอบห่วงโซ่การผลิตอาหารที่เราเรียกกันจนติดปากว่า ต้นนํ้า กลางนํ้า ปลายนํ้า
หมวดหมู่สําคัญในด้านอาหารอนาคต(Future Food) เหล่านี้ล้วนพัฒนาแนวคิดธุรกิจ แนวคิดโซลูชั่น แนวคิดนวัตกรรม แนวคิดสินค้าและบริการผ่าน 3เลนส์ หลักนี้ทั้งสิ้นและในอีก 2 กรอบสําคัญในการใช้คิดเพื่อสร้างธุรกิจ อาหารแห่งอนาคตเพื่อสร้างสมดุลและความยั่งยืนให้โลกคือ รู้ลึกและรู้รอบด้าน (DEEP LEARNING & HOLISTIC VIEW) คือการศึกษาให้เข้าใจ รู้ลึก รู้จริง ในธุรกิจนั้น หมวดหมู่ธุรกิจนั้น เช่น งานวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีที่เป็นหัวใจในโปรเจคนั้นๆ และเทรนตัวเลขตลาดที่จะสร้างตัวเลขทางการเติบโต ความต้องการผู้บริโภค และผู้ใช้
ซึ่งนอกจากรู้ลึกแล้วยังควรที่จะต้องรู้รอบด้านคือ ควรศึกษาให้เข้าใจทั้งระบบ มองให้ครบในห่วงโซ่การผลิตอาหาร(Food Chain ) ตลอดจนผลกระทบโดยรวมด้วยทั้งในด้านผู้บริโภค สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นหัวใจสําคัญของการสร้างแบรนด์และธุรกิจที่จะยั่งยืนไปในอนาคต