ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญในทุกจังหวะชีวิต ผนวกกับเทรนด์ Digital healthcare ทำให้ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวชจำเป็นต้อง Shift Up ตัวเองให้พรีเมียมและก้าวล้ำทันสมัยยิ่งขึ้น ด้วยการวางจุดยืนที่ชัดเจนในการเป็น Hospital Digitalization
ในการก้าวขึ้นเป็น Hospital Digitalization สมิติเวช เป็นการทรานส์ฟอร์เมชั่น “นอกตำรา” ไร้กรอป ไร้วิชั่น แต่กลับสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและก้าวขึ้นสู่ผู้นำตลาดHealthTech ในยุคที่อุตสาหกรรมสุขภาพเปรียบเสมือนเหมือนก้อนน้ำตาล ที่ทุกธุรกิจอยากกระโดดเข้ามาร่วมวง
นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลบีเอ็นเอช เปิดเผยว่า ปัจุบันไม่ใช่แค่โรงพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้นที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสุขภาพ เพราะทุกวันนี้หลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น แบงค์ โทรคมนาคมต่างเข้ามาอยู่ในธุรกิจHealthcareทั้งหมดโดยมีโควิดเป็นตัวเร้า ในขณะเดียวกัน start up และGiantech company ต่างๆก็เข้ามาDisruptionธุรกิจสุขภาพ ดังนั้นธุรกิจโรงพยาบาลจึงมีทางเลือก 3ทางคือ สู้ เปลี่ยนและถอย
“สิ่งที่ต้องทำก็คือเราต้องDisruptionตัวเองก่อนที่คนอื่นจะมาDisruptionเรา ส่วนใหญ่เวลาคนทำทรานส์ฟอร์เมชั่นจะทำทันทีและพังทันที เพราะทำตามแฟชั่นไม่ได้ทำจากแพชชั่น ซึ่งทรานส์ฟอร์เมชั่นไม่สามารถเกิดขึ้นจากกองขยะได้ สมิติเวช ใช้ทฤษฎี “สวนสัตว์สมิติเวช” เข้ามาจัดการองค์กรเพื่อให้สามารถทรานส์ฟอร์เมชั่นไปสู่เป้าหมาย”
สำหรับ ทฤษฎี “สวนสัตว์สมิติเวช” อันดับแรกต้องหันกลับมาดูว่ามี ปลิง กี่ตัวที่กำลังเกาะอยู่บนหลังองค์กร แล้วทำให้เป็นวาระแห่งชาติจัดการปลิงให้เรียบร้อย
ส่วนที่ 2 เต่าติดสเก็ต ต้องกลับมาพิจราณาว่าองค์กรยังเป็นเต่าล้านปีอยู่หรือเปล่า การกำหนดบทบาทหน้าที่สำคัญที่สุด เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักบทบาทหน้าที่ตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องจัดระเบียบสังคมให้ดีก่อนให้แต่ละตำแหน่งรู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ตั้งคณะกรรมการน้อยๆโฟกัสเรื่องที่จะทำและที่สำคัญหรือเป็นคัมภีร์อรหันต์ก็คือการปรับระบบงานทั้งหมด ผู้บริหารจะต้องรู้ว่าแต่ละวันตัวเองจะต้องทำอะไร
ส่วนที่3 อินทรีย์ ปัจจุบัน สมิติเวช ไม่มี vision เมื่อทำการทรานส์ฟอร์เมชั่น ถึงจุดหนึ่งองค์กรไม่จำเป็นต้องมี vision ถ้าทุกวันนี้สมิติเวชยังทำตามระบบรับรองตายเรียบ เพราะฉะนั้น no vision ,ไร้ระบบ ,simple shot sharp smart, ปัญหา ปัญญา ปันผล ถ้าไม่มีโจทย์ดีๆจะมีแผนดีๆได้อย่างไรเพราะฉนั้นผู้บริหารต้องมีความเก่งคนต้องคุม behavior ให้ดีแล้ว attitudeจะดีเอง ต่อมาต้องเปลี่ยน personal สันดานให้เป็น organizer สันดาน และสุดท้ายกับดักของคนเก่งที่ CEOต้องระวังคือคนสำเร็จจะไม่สำเร็จส่วนคนไม่สำเร็จจะสำเร็จ ส่วนที่คือ 4 กบ หรือทำ s-curve ใหม่ๆเพื่อขยายหรือเสริมทัพองค์กรให้แข็งแกร่ง
“แต่ต่อให้มีครบทั้ง 4ส่วนนี้ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นจะต้องเปลี่ยนกระบวนท่าใหม่ คุณจะต้องเป็น “ผีเสื้อ” สิ่งที่สมิติเวชทำคือเราไม่อยากให้ใครป่วย จุดประสงค์สูงสุดของโรงพยาบาลคือผลักคนไข้ออกจากโรงพยาบาลและทำให้ 90% ที่แข็งแรงไม่ป่วย เราไม่ได้ทำโรงพยาบาลเพื่อจะเอาเงินจากคนไข้
เพราะฉะนั้นองค์กรจะต้องสร้างvalueหรือสร้างคุณค่า เช่นvalueของเราคือเราไม่อยากให้ใครป่วยเพราะฉะนั้นเราทำTotal Health Solution ผลักให้คนไข้ออกจากโรงพยาบาล เมื่อเราทำแบบนี้valueก็จะมาเยอะ ดังนั้นเราจะต้องเป็นองค์กรแห่งคุณค่า
และสุดท้ายคุณจะต้องเป็น “ปูเทวดา” ยุทธศาสตร์หลักของเราก็คือ Agile ถ้าทำสำเร็จจะมีความยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 2 คือยุทธศาสตร์ล้อม ในอนาคตไม่ว่าจะทำอะไรจะต้องทำเหมือนหมากล้อมและเท่าทันทุกกระบวนท่า ยุทธศาสตร์ต่อมา ไหล ต้องเคลื่อนตัวและปรับตัวตลอดเวลาเพื่อให้เท่าทันปัจจุบัน
คนที่แก้ปัญหาในอดีตคือองค์กรที่กำลังเดินถอยหลัง แต่ถ้าแก้ปัญหาในปัจุบันคือองค์ที่เริ่มเดิน แต่ถ้าเป็นองค์กรที่สามารถดักรอปัญหาได้คือองค์กรที่เริ่มวิ่ง และคุมปัญหาได้ ยุทธศาสตร์ล้ำ คุณต้องเป็นหมอดู ใช้ AI ข้อมูลเพื่อชนะคนรุ่นใหม่ และสุดท้ายยุทธศาสตร์ ล่อ ใช้หลักธรรมล่อ ลวง หลอก ซึ่งถ้าทำทั้งหมดนี้ได้ เรือใหญ่หรือองค์กรก็พออยู่ได้”