“เนตรนภา ศรีสมัย” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์บัคส์ ประเทศไทย นำทีมพนักงานด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบยั่งยืน ที่ดูแลทั้งลูกค้าและรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาโลกร้อนไปพร้อมๆ กัน
ส่วนของธุรกิจ “เนตรนภา” ให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงาน พาร์ทเนอร์ และลูกค้า ด้วยให้ความรู้การดูแลตัวเอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกคน ทั้งลูกค้า พนักงาน และพาร์ทเนอร์
ในขณะเดียวกัน Starbucks ยังคงออกโปรโมชั่นและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่อเนื่อง เพื่อรักษาแนวทางการดำเนินธุรกิจการเป็น Third place Experience ที่ให้บริการและส่งต่อประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในช่องทางต่างๆ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว เว้นระยะห่าง และลดการสัมผัส
ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ไหน ซึ่งจะมี “ดิจิทัล” และ “Starbucks Mobile App” เป็นแกนหลัก โดยเริ่มบริการเหล่านี้มาตั้งแต่ปลางปี 2564 พร้อมทั้งร่วมกับมาร์เก็ตเพลส อาทิ ช้อปปี้ ลาซาด้า และเพิ่มบริการไดร์ฟทรู เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย
“ตอนนี้ธุรกิจของเรา พยายามให้กลับมาเหมือนก่อนโควิด แพลทฟอร์มดิจิทัล เราเติบโต โมบายแอฟ และรอยัลตี้โปรแกรม ยอดก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่วนดิลิเวอร์รี่ที่เปิดกลางปีที่แล้ว ก็ได้รับการตอบรับดี ทั้งหน้าร้าน 430 สาขา และช่องทางดิจิทัล เทียบภาพรวมแม้ยังไม่สูงมาก แต่เราจะผลักดันด้านดิจิทัลต่อ ไลฟ์สไตล์ตรงนี้ไม่ได้ไปไหนแน่ และมันคือความท้าทายของเรา”
ผู้นำ Starbucks บอกเลยว่า ต่อจากนี้จะโฟกัสการโตทางดิจิทัลมากขึ้นพร้อมผลักดันให้เติบโตแบบก้าวกระโดด รวมไปถึงการมุ่งเน้นการขยายธุรกิจ ควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนในการเติบโต ที่เรียกว่า นโยบายการเติบโต 3 แบบ คือ
“เนตรนภา” ยังบอกอีกว่า Starbucks มีหลักการ Starbucks C.A.F.E. Practices (Coffee and Farmer Equity) ซึ่งเป็นแนวทางการรับซื้อเมล็ดกาแฟบนหลักเกณฑ์ 4 ข้อ คือ เมล็ดกาแฟคุณภาพสูง, ความโปร่งใสทางธุรกิจ, ความรับผิดชอบต่อสังคม และการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยส่วนหนึ่งของการดูแลสิ่งแวดล้อม คือ การให้ความสำคัญกับการสร้างร้านที่ไ่ด้มาตรฐาน LEED
ซึ่งขณะนี้ในไทยมีร้านที่ได้ LEED แล้ว 50 สาขา และกำลังพัฒนาอีกหนึ่งโมเดลที่จะนำมาเปิดในไทยคือ Green Store ที่ Starbucks มีเป้าหมายในปี 2025 จะสร้าง Green Store ให้ได้ 1 หมื่นสาขาทั่วโลก โดยรูปแบบจะเป็นการต่อยอดจาก LEED และมีการบริหารจัดการวัตถุดิบ รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในร้านให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการกำจัดของเสียอย่างถูกวิธี โดยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ สำหรับประเทศไทยในปีนี้ที่จะเห็นชัดเจน คือ การขยาย 25-30 สาขา ที่เน้น LEED และ Green Store
รวมไปถึงการนำเสนอนวัตกรรมเมนูใหม่ๆ อย่างหนึ่งที่ Starbucks พยายามส่งเสริม คือ เมนูทางเลือก สำหรับเมนูที่มีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแว้อม เช่น แพลนท์เบส หรือการใช้นมถั่วเหลือง นมอัลมอนต์ ข้าวโอ๊ต แทนนมวัว นอกจากนี้ ส่วนของแพ็คเกจจิ้ง การลดใช้พลาสติก สิ่งนี้ Starbucks ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง และต่อไป จะต้องไม่เห็นแก้วหรือหลอดพลาสติกในร้าน Starbucks
“อดีตเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรายังวัดผลไม่ชัด แต่อนาคตจะมีการวัดผลชัดเจนขึ้นแน่นอน พร้อมๆ กับการเติบโตยอดขายกำไรในแต่ละปี โดยส่วนของการทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นส่วนที่ทำให้คน Starbucks เกิดความภาคภูมิใจ ทีมงานทุกคนโฟกัสการขับเคลื่อนธุรกิจ แต่เรื่องการเติบโตยั่งยืน เราพร้อมสร้างมายด์เซ็ทให้ได้ภายในองค์กร วางแผนด้วยกัน มีมายด์สโตร์ให้มีความสำเร็จทีละขั้น ซึ่งตอนนี้มีโปรเจคอีกมากมายที่จะต้องทำ”
ผู้นำ Starbucks ย้ำว่า ถ้าโควิดเรียบร้อย Starbucks จะกลับมาทำทุกอย่างให้เดินหน้า เพื่อสร้างผลประโยชน์ที่ดีต่อทุกคน
หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,764 วันที่ 10 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2565 น