“เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย” กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดไชน่า บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ได้อธิบายถึงคีย์ซัคเซสของธุรกิจที่น่าสนใจ
“ในบริษัทขนส่งด่วน ระหว่างประเทศที่ดีที่สุดในโลก เราต้องทำอะไรบ้าง...เราปรับตัวให้เข้ากับดิจิทัลด้วยความเข้าใจ และโฟกัสที่ชัดเจน กับลูกค้า คือ การรับส่งพัสดุและเอกสารข้ามประเทศให้เร็วที่สุด เรามีฝูงบินครอบคลุมทั่วโลก”
หากแต่ การบริหารธุรกิจให้เดินหน้าโดยไม่สะดุด ท่ามกลางภาวะวิกฤติ “เฮอร์เบิต” ต้องใช้ประสบการณ์กว่า 20 ปี ในการขับเคลื่อนองค์กรและระบบงาน ซึ่งต้องใช้กลไกโปรแกรมการบริหาร ผลักดันให้ธุรกิจเติบโต พร้อมๆ กับการบริหารแรงงาน (workforce) ด้วย 3 Bottom Lines คือ
โดยใช้ 4 กลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อน เริ่มจาก
“เฮอร์เบิต” เล่าว่า เขาพยายามสร้าง Great Place to Work ที่ไต่ลำดับดีขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้เวลาถึง 5 ปี กว่าจะได้ขึ้นเป็นอับดับหนึ่งในปี 2021 วิธีการ คือ การสำรวจความคิดเห็นพนักงานทั่วโลก เพื่อดูเรตติ้ง และนำมาออดิท แล้วสร้างเป็นโปรแกรมที่เป็นมาตรฐานใช้ดูแลพนักงานดีเอชแอลทั่วโลก ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกต้อง ภายใต้ Future of Work เพื่อสร้างแรงจูงใจที่ดีให้พนักงานมีพลังบวกในการทำงาน
“องค์กรของเรา พนักงานทุกคน พูดได้ว่า เราให้ความเคารพซึ่งกันและกัน และไม่หย่อนยานที่จะได้ให้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะ Results ทำให้องค์กรอยู่ได้ และ Respect การเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้พนักงานมีความสุข”
อีกส่วนคือ ดีเอ็นเอ พนักงานดีเอชแอล มีดีเอ็นเอเดียวกัน เอื้อต่อการทำธุรกิจ ด้วยสปีด และการทำงานที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น เพราะการทำงานของดีเอชแอลต้องประสานกันเป็นเน็ตเวิร์ค ทุกคนต้องมีมายด์เซ็ทที่ทุกอย่างสามารถทำได้ (can do attitude) และมี passion ในการทำงาน
รวมถึงต้องมีหัวหน้าทีมที่สามารถสร้างแรงขับเคลื่อน รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และมีหัวใจในการเป็นผู้นำ เก่ง และต้องกล้าตัดสินใจ กล้ารับฟัง กล้าฟีดแบ็คคน ซึ่งไม่ใข่การติเตียน แต่เป็นการพูดเพื่อเสริมซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานของดีเอชแอลกล้าพูด เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กล้าคิดกล้าแสดงออก ด้วยบรรยากาศที่เป็นเหมือนครอบครัว เมื่อมีอะไรผิดก็คุยกันตรงๆ แก้ไขร่วมกัน เพื่อการพัฒนา
ในช่วง 2 ปีนี้ “เฮอร์เบิต” บอกว่า ดีเอชแอลนำดิจิทัลมาใช้งานค่อนข้างมาก ทั้งการประชุมและระบบงานต่างๆ มีการสร้างออฟฟิศใหม่ ไม่ให้เกิดการทำงานแบบไซโร ทำให้ทุกคนมาจอยซ์กัน ทำให้ทุกคน collaborate มากขึ้น เวลาการทำงานยืดหยุ่น ทำให้ทุกคนคุ้นเคยกับระบบ ไม่ใช่การทำงานแบบ Remote Working อย่างเดียว แต่เป็นการทำงานแบบผสมผสาน มิเช่นนั้นความรู้อยากทำงานหรือการแอคทีฟในการทำงานจะฟ่อลงเรื่อยๆ
รูปแบบการทำงานยุคใหม่ ทีมงานต้องมีการทำโค้ชชิ่ง มีการติดต่อ การขอความช่วยเหลือ วิธีการ collaborate ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทักษะเหล่านี้ต้องทำด้วยกันและเรียนรู้กันไปเรื่อยๆ
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ที่ผ่านมา ดีเอชแอล ประเทศไทย มีอัตราการลาออกไม่ถึง 5% จากอุตสาหกรรมที่มีสูงถึง 18-20%
ล่าสุด ดีเอชแอล มีการลงทุนซื้อเครื่องบินขนสินค้าเพิ่มเติม เพื่อรองรับการขยายจำนวนสินค้าที่จะให้บริการเพิ่มขึ้น ดังนั้น พนักงานของดีเอชแอลต้องทำงานอย่างชาญฉลาดมากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนสินค้าที่เพิ่มขึ้น เพื่อทำให้กลไกการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้ด้วยบริการที่มีประสิทธิภาพ
หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,766 วันที่ 17 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2565