ถอดรหัสโมเดลยั่งยืน ESG 2022 เซเว่น อีเลฟเว่น

01 พ.ค. 2565 | 07:25 น.
อัปเดตล่าสุด :01 พ.ค. 2565 | 14:39 น.

เปิดโมเดลยั่งยืน “ซีพี ออลล์” ขานรับแนวพัฒนาเศรษฐกิจรัฐ เดินหน้ายุทธศาสตร์ความยั่งยืน ESG 2022 ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อชุมชน สังคม ประเทศชาติ

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า BCG Model  เพื่อต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

แม้จะเป็นแนวยุทธศาสตร์ที่ดี แต่หากไม่ได้รับการสนับสนุนหรือปฏิบัติตาม ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ขณะที่การจะริเริ่มต้องใช้งบประมาณหรือเงินลงทุนมหาศาลในการลองผิด ลองถูก องค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งจึงเริ่มดำเนินการพร้อมเป็นตัวอย่างให้อีกหลายหน่วยงานเดินตาม สู่ความยั่งยืนขององค์กร สังคมและประเทศชาติ เช่นเดียวกับ “ซีพี ออลล์” ที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จนเริ่มแข็งแรงและเป็นรูปธรรม

เซเว่น อีเลฟเว่น

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เปิดเผยว่า เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมของรัฐบาล ในปีนี้  ซีพี ออลล์ จึงมีนโยบายมุ่งดำเนินธุรกิจตามแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกมิติ

 

ด้วยการนำหลัก BCG Model ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่

B (Bioeconomy) หมายถึง การนำทรัพยากรชีวภาพมาใช้ผลิตให้คุ้มค่าโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

C (Circular economy) ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีการนำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า

G (Green economy) ระบบเศรษฐกิจสีเขียว

 

การสร้างนวัตกรรมรวมถึงการจัดการสภาพสังคมให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด มาวางแผนการดำเนินธุรกิจ ภายใต้กรอบกลยุทธ์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG) เป็นหลัก และมุ่งเน้นการปฏิบัติที่ส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

โดยใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยมีเครือข่ายพันธมิตรรดำเนินโครงการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและขยายผลการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในเชิงสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ปณิธาน “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน”

เซเว่น อีเลฟเว่น

สำหรับการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อความยั่งยืนภายใต้กรอบ ESG 2022 (Environmental, Social and Governance : ESG) ประกอบด้วย

 

E หรือ Environmental ซีพี ออลล์ ร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย “เซเว่น โก กรีน” (7 Go Green) เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง  เป็นโครงการที่มุ่งสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน สังคมและประเทศ มุ่งเน้นผลลัพธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดใช้พลังงาน และการลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติก ตลอดจนมุ่งสร้างความตระหนักรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม

 

ทั้งนี้นโยบาย “เซเว่น โก กรีน”  (7 Go Green) เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง  ได้แก่

 

1. Green Store : การบริหารจัดการร้านอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการปรับปรุงระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้กลยุทธ์ “ร้านเพื่อสิ่งแวดล้อม” 

 

อาทิ โครงการพลังงานทดแทน (Renewable Energy), โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency), โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพคอยล์เย็น, โครงการใบเสร็จรับเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

2. Green Logistic :  ซีพี ออลล์ ได้ดำเนินงานด้านการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการจัดการพลังงานผ่านโครงการต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งและออกแบบศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้กลยุทธ์ “โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม”

 

อาทิ โครงการพลังงานทดแทน (Renewable Energy), โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency), โครงการยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ขยายการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์, นำร่องโครงการใช้รถไฟฟ้าในกระบวนการขนส่งสินค้า, โครงการปรับเปลี่ยนขนาดรถขนส่งสินค้า เป็นต้น

เซเว่น อีเลฟเว่น

3. Green Packaging : การดำเนินงานภายใต้นโยบายและแนวปฎิบัติด้านบรรจุภัณฑ์ โดยมุ่งหวังในการลดปริมาณขยะที่ส่งเข้ากระบวนการฝังกลบน้อยที่สุด ผ่านแนวคิด “ลด ละ เลิก” รวมทั้งการคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนแนวคิดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยมีเป้าหมายหลักด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

 

นั่นคือ สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) ร้อยละ 100 ภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทยอาทิ ขับเคลื่อนการลด เลิก ใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic), โครงการฝายกดื่มไม่พึ่งหลอด, โครงการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิล, โครงการลดการใช้พลาสติกจากการพัฒนาบรรจุภัณฑ์, โครงการความร่วมมือและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ร่วมกับคู่ค้า เป็นต้น

ซีพี ออลล์

4. Green Living  :  การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม ซีพี ออลล์ เพื่อสร้างวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่ลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งนี้ ซีพี ออลล์ ได้สานต่อโครงการ “ลดและทดแทน” เพื่อส่งเสริมลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ได้แก่ ช้อน ส้อม หลอด และแก้ว รวมทั้งโครงการทดแทนการใช้พลาสติกด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

S หรือ Social  ซีพี ออลล์ มุ่งดำเนินธุรกิจภายใต้ความตะหนักถึงความสำคัญของสังคมที่เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ผ่านการส่งเสริมและสร้างคุณค่าที่หลากหลาย อาทิ การเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ต่างๆ การสร้างอาชีพ การส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้า เพื่อสร้างโอกาสให้กับกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกร รวมถึงกลุ่มเปราะบางทางสังคม

 

ซึ่งซีพี ออลล์ มีนโยบายช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก ผ่านกลยุทธ์ 3 ให้ ได้แก่ ให้ช่องทางจำหน่าย ให้ความรู้ และให้การสนับสนุน เพื่อมุ่งขยายโอกาส สร้างรายได้ และยกระดับเอสเอ็มอี เกษตรกรให้แข็งแกร่ง ภายใต้การขับเคลื่อนของศูนย์ 7 สนับสนุนเอสเอ็มอี ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ช่วยผลักดันให้เอสเอ็มอีไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤต ยกระดับสินค้าชุมชนสู่ระดับประเทศและสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน              

เซเว่น อีเลฟเว่น

สำหรับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต ซีพี ออลล์ ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชน โดยเชื่อมั่นว่าการมอบโอกาสทางการศึกษาสามารถเปิดประตูสู่โอกาสทางอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยในปี 2565 นี้ ซีพี ออลล์ได้มอบทุนการศึกษาเรียนปัญญาภิวัฒน์ฯ รวมกว่า 10,307  ทุน เป็นเงินกว่า 864 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ซีพี ออลล์ ยังเป็นหนึ่งในพันธมิตรก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดี  (CONNEXT ED) ที่เล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษา วางเป้าดูแลโรงเรียนในโครงการ CONNEXT ED 5 เฟส จำนวนกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ ร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้สามารถดำเนินโครงการด้านต่างๆ

 

ทั้งโครงการที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โครงการพัฒนาคุณภาพคน โครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โครงการส่งเสริมอาชีพ โครงการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่ครูและนักเรียนก่อนต่อยอดไปเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Community Center) ก่อนเผยแพร่องค์ความรู้

 

ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Life long Learning โดยมีผู้นำรุ่นใหม่ หรือ School Partner ซึ่งเป็นอาสาสมัครจากในองค์กรร่วมลงพื้นที่และคอยให้คำแนะนำในการพัฒนาโครงการของโรงเรียนต่างๆ อย่างใกล้ชิด โดยที่ผ่านมามีนักเรียนเข้าร่วมโครงการกว่า 120,000 คน ผ่านโครงการพัฒนาโรงเรียนกว่า 615 โครงการ

 

G หรือ Governance and Economic หมายถึง หลักการบริหารงานภายใต้กรอบธรรมภิบาล ซีพี ออลล์ มีความเชื่อมั่นว่าแนวปฎิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นองค์กรที่บริหารงานด้วยความโปร่งใส สามารถช่วยสร้างพื้นฐานความยั่งยืนขององค์กรให้สามารถเติบโตและเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความสามารถการแข่งขันขององค์กรได้ 

 

ซีพี ออลล์ จึงได้ดำเนินงานโดยการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทจัดโครงสร้างการบริหารงานด้านการกำกับดูแลพร้อมทั้งมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการต่อต้านคอร์รัปชั่น  นโยบายความยั่งยืนและแนวทางปฎิบัติ

 

รวมถึงจริยธรรมธุรกิจ ต่อต้านการทุจริต เคารพและปฎิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล การพัฒนาผู้นำและพนักงานทุกคนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมด้านความยั่งยืน ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมและการสร้างคุณค่าด้านสินค้า บริการ และธุรกิจใหม่ ภายใต้จริยธรรมธุรกิจและหลักธรรมภิบาล

 

"ตลอดระยะเวลากว่า 33 ปีที่ผ่านมา บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรให้เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  โดยคำนึงถึงการให้บริการความสะดวกแก่ลูกค้า สังคม ชุมชนและประเทศชาติเป็นศูนย์กลาง รวมถึงการดูแลพนักงานที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร

 

นอกจากนี้เรายังคงสร้างความร่วมมือและส่งเสริมพัฒนาความยั่งยืนกับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรให้เติบโตไปด้วยกัน"