เมื่อผู้บริหารหันใส่ใจสุขภาพเลือกรับประทานอาหาร ส่งผลให้เทรนด์อาหารแห่งอนาคต เป็นกลุ่มอาหารจากโปรตีนทดแทนใหม่ รวมถึงโปรตีนจากพืช หรือที่เรียกว่า “แพลนต์เบส” (Plant-Based Food) ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอาหาร หันมาใส่ใจและเลือกที่จะพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ รวมถึง “ซีพีแรม” หนึ่งในผู้ผลิตอาหารรายใหญ่
“แพลนต์เบส” เป็นอาหารจากพืชตระกูลถั่ว เห็ด และสาหร่าย เพื่อรับประทานทดแทนเนื้อสัตว์ สอดรับกระแสผู้บริโภคที่ใส่ใจห่วงใยเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยสูง เพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีและยังตระหนักถึงความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
รายงานจากบริษัท ซีพีแรม จำกัด ระบุว่า การสำรวจตลาดผลิตภัณฑ์แพลนต์เบสในประเทศไทย ซึ่งมีการคาดการณ์จะเติบโตอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ปี 2567 จะมีมูลค่าตลาดถึง 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีแบรนด์ต่างๆ เข้ามาเล่นในสนามนี้อย่างคับคั่ง
โดยซีพีแรม ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน ได้เปิดตัวแบรนด์ “VG for Love” อาหารกลุ่มใหม่สำหรับผู้บริโภคพืชเป็นหลัก “Plant-Based Diet” โดยสอดรับกับ 4 แนวทาง ได้แก่ รักสุขภาพ รักชีวิตสัตว์ รักสิ่งแวดล้อมและรักษ์โลก ด้วยเมนูยอดนิยม ได้แก่ 1.ข้าวผัดกะเพราขี้เมาเห็ดออรินจิ 2.สปาเก็ตตี้ขี้เมาเห็ดออรินจิ 3.ข้าวผัดเห็ดออรินจิ 4.ข้าวคะน้าหมูกรอบ แพลนต์เบสต์
5.ข้าวลาบหมู แพลนต์เบสต์ 6.บะหมื่แห้งปลาเส้นทอด แพลนต์เบสต์ 7.ข้าวกะเพราหมู แพลนต์เบสต์ 8.ข้าวกะเพราหมู แพลนต์เบสต์ + ไข่ดาว 9.ข้าวผัดแกงเขียวหวานไก่แพลนต์เบสต์ 10.สปาเก็ตตี้พอร์คบอล แพลนต์เบสต์ คลอบคลุม 5 ประเภทตามกลุ่มการบริโภคอาหาร “Plant-Based-Diet” หรือ PBD Mark และจำหน่ายที่ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven
“ปัจจุบันซีพีแรมได้พัฒนาผลิตภัณฑ์แพลนต์เบสต์ เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่บริโภคพืชเป็นหลักและบริโภคแบบยืดหยุ่นเป็นบางมื้ออย่างต่อเนื่อง ปลายปีที่ผ่านมาส่งเมนู ข้าวกะเพราหมูกรอบ แพลนต์เบสต์ จัมโบ้บิ๊กเปากะเพราไก่แพลนต์เบสต์ จัมโบ้แกงเขียวหวานไก่แพลนต์เบสต์
ล่าสุดปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาเจาะกลุ่มผู้บริโภคสายเบเกอรี่ ได้แก่ ขนมปังฟักทองธัญพืช เพื่อรับประทานในมื้อเช้าและเป็นของว่าง ทั้งนี้จากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์แพลนต์เบสต์ลงตลาด ซีพีแรมได้รับผลตอบรับและการตอบสนองอย่างดีจากกลุ่มผู้บริโภคพืชเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่องคนหันมาบริโภคพืชเป็นหลักมากยิ่งขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นโยบายของซีพีแรม มีแนวทางสำคัญด้านความมั่นคงอาหาร (Food Security) และความยั่งยืนอาหาร (Food Sustainability) ซึ่งหลายองค์กรมีการพูดถึงในด้านนี้มากขึ้น โดยมีปัจจัยจากความกังวลเรื่องการขาดแคลนอาหารของมนุษย์ในอนาคต จากจำนวนประชากรโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรอยู่ที่ 7,700 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2050 จะเพิ่มเป็น 9,700 ล้านคน และอาจจะเพิ่มเป็น 11,000 ล้านคนในปี 2100 ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงกับการขาดแคลนอาหาร รวมถึงความท้าทายใหม่ที่นานาชาติมีความกังวลจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) มีเป้าหมายในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050
ซีพีแรม ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาและวิจัยด้านอาหารด้วย “อาหารแห่งอนาคต” หรือ Foods For The Future ใน 3 นัยยะ ประกอบด้วย 1.อาหารทางเลือกใหม่ อาทิ แมลงกินได้ อาหารแพลนต์เบสต์ (Plant-Based Meat) และ Cultured Meat 2.อาหารจำเพาะผู้บริโภค อาทิ Functional Foods , Personalized Foods
3.อาหารในแนวทางบริโภคใหม่ อาทิ อาหารแพลนต์เบสต์ไดเอต (Plant-Based Diet) โดยมีแมลงที่กินได้ เนื้อสังเคราะห์จากพืช เนื้อสัตว์จากเซลล์เพาะเลี้ยง อาหารฟังก์ชั่น อาหารในแต่ละวัย แพลนต์เบส์ หรือการบริโภค Plant-Based Diet
สำหรับแพลนต์เบสต์ หนึ่งในเทรนด์อาหารแห่งอนาคต ได้รับความนิยมในประเทศและต่างประเทศ ด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นเรื่องการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย รวมทั้งการให้ความสำคัญจากวิกฤตทางสิ่งเวดล้อม พร้อมกับร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดความสมดุลตลอดห่วงโซ่อาหาร เพื่อสอดคล้องกับนโยบายและแผนการขับเคลื่อน “อาหารแห่งอนาคต” หรือ Foods For The Future
ทั้งนี้ ซีพีแรม ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง FOOD 3S ขององค์กร ประกอบด้วย 1. ความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) 2. ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และ 3. ความยั่งยืนทางอาหาร (Food Sustainability) โดยคำนึงถึงการสร้างคุณค่าสูงสุดให้แก่ผู้บริโภค และพร้อมที่จะส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยและให้คุณค่าทางโภชนาการ อีกด้วย