ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม กรมเจ้าท่าเดินหน้าเพื่อศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งทางทะเล (Maritime Hub) และพัฒนาท่าเรือ Marina ชุมชน จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ครบ 6 จังหวัด ตั้งเป้าศึกษารายละเอียด 2 ปี ก่อนดึงเอกชนลงทุน ภาครัฐอำนวยความสะดวก เปิดกฎหมายเอื้อต่อการลงทุน มั่นใจสร้างรายได้ เม็ดเงินท่องเที่ยวสะพัดในพื้นที่
นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปฏิบัติการ เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่ามีแผนพัฒนาท่าเรือชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย เพื่อสนับสนุนการเดินทางและการท่องเที่ยว
โดยในส่วนชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมเจ้าท่าจะเริ่มการศึกษาพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งทางทะเล (Maritime Hub) และผุดโครงการท่าเรือมารีน่าชุมชน 1 จังหวัด 1 ท่า หรือทั้งหมด 6 ท่า ใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่
โดยจะทำการศึกษาระหว่างปี 2566 ถึง 2567 ก่อนเริ่มดำเนินการในพื้นที่โดยรูปแบบการลงทุนในอนาคตนั้น เชื่อว่าเมื่อภาครัฐมีการชี้จุดพื้นที่เป้าหมาย ชัดเจน มีการอำนวยความสะดวก ในแง่ของข้อกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุน เอกชนที่มีศักยภาพ หรือแม้แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความพร้อมก็สามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้
โดยลักษณะของท่าเรือ จะเป็นเรือสำราญขนาดเล็ก รองรับเรือขนาดตั้งแต่ 30 - 40 ลำ หรือสูงสุดไม่เกิน 100 ลำ ส่วนจำนวนเม็ดเงินการลงทุนนั้น จะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ที่มีการกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมาย จะมีเนื้อที่เท่าใด และแบบการก่อสร้างมารีน่าในของแต่ละจังหวัด ที่จะถูกออกแบบขึ้นจะมีขนาดใหญ่มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเมื่อได้มีการกำหนดพื้นที่และมีการออกแบบท่าเรือมารีน่าแล้ว ก็จะมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ตามที่มีการออกแบบขึ้นต่อไป
“มั่นใจว่าการพัฒนามารีน่าชุมชนนี้ เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว เข้ามาสู่พื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่นำเรือสำราญขนาดเล็กหรือเรือใบ มาจอด แน่นอนก็จะนำมาซึ่ง เม็ดเงินรายได้จากการท่องเที่ยวที่หมุนเวียนสะพัดในแต่ละชุมชนมากขึ้น " นายสมพงษ์ฯ กล่าว
ทั้งนี้ที่ผ่านมา กรมเจ้าท่ามีแผนพัฒนาท่าเรือชายฝั่งอันดามันระหว่างปี พ.ศ.2561-2567 จำนวน 13 ท่า โดยได้ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
ท่าเรืออยู่ระหว่างดำเนินการจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2565 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือปากคลองจิหลาด จังหวัดกระบี่ เป็นท่าเรือต้นทาง - ปลายทาง ไปยังเกาะพีพี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ส่วนแผนพัฒนา พ.ศ.2567-2569 จำนวน 6 แห่ง โดยมีท่าเรือ 4 แห่งอยู่ในเส้นทางเดินเรือขนส่งผู้โดยสารและรถยนต์ เชื่อมโยงจากจังหวัดกระบี่ – พังงา – ภูเก็ต ร่นระยะเวลาเดินทางจากจังหวัดกระบี่ไปจังหวัดภูเก็ตลง 1.5 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับทางบก
ได้แก่ ต้นทางที่ท่าเรือเฟอร์รี่ท่าเลน จังหวัดกระบี่ ปลายทางที่ท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต และท่าเรือที่อยู่ในเส้นทางได้แก่ท่าเรือมาเนาะห์ และท่าเรือช่องหลาด จังหวัดพังงา และมีแผนพัฒนาท่าเรืออีก 2 แห่ง ในจังหวัดกระบี่ ได้แก่ ท่าเรืออ่าวน้ำเมา และท่าเรือเกาะพีพี
ส่วนชายฝั่งทะเลอ่าวไทย กรมเจ้าท่า มีแผนพัฒนาท่าเรือชายฝั่งอ่าวไทยระหว่างปี พ.ศ.2563 - 2567 จำนวน 3 ท่า คือ อยู่ระหว่างดำเนินการจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2565 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือปะทิว จังหวัดชุมพร (ท่องเที่ยวดำน้ำดูฉลามวาฬ ที่เกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่)
ท่าเรือใหม่ที่จะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2566 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเรืออ่าวมะขามป้อม จังหวัดระยอง (ท่องเที่ยวเกาะมันนอก มันกลาง มันใน และเชื่อมโยงไปยังเกาะเสม็ด อันมีชื่อเสียงได้)รวมทั้งมีแผนพัฒนา พ.ศ.2566 - 2568 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือเกาะกูดซีฟร้อนท์ จังหวัดตราด สนับสนุนการเดินทางและการท่องเที่ยวเชื่อมจากท่าเรือแหลมศอกไปยังเกาะกูด