จากกรณีการประกาศนโยบาย "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" วันละ 600 บาท และเพิ่มเงินเดือนเด็กจบปริญญาตรี 25,000 บาท ภายในปี 2570 ของพรรคเพื่อไทย หากได้รับเลือกเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป จนทำให้เกิดเสียงค้านจากหลายฝ่ายทั้งภาคธุรกิจ และนักวิชาการ
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจเอกชน ล่าสุด คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ก็ประสานเสียงคัดค้านการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดครั้งนี้ เพราะมองว่า จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนธุรกิจ ต้องปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 70%
คำถามอีกอย่างที่เกิดขึ้นตามมา นั่นคือ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ ท้ายที่สุดแล้ว แรงงานไทย หรือ แรงงานต่างด้าว จะได้รับประโยชน์กันแน่
จากการตรวจสอบข้อมูลจำนวนสถานประกอบการและผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ของสำนักงานประกันสังคม พบยอดผู้ประกันตนในระบบทั่วประเทศเดือนตุลาคม 2565 ดังนี้
ขณะเดียวกันเมื่อลงลึกไปในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลการทำงานของแรงงานต่างด้าว โดยข้อมูลจากกรมการจัดหางาน เปิดเผยสถิติจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในประเทศ เดือนตุลาคม 2565 พบว่า มีแรงงานต่างด้าวรวม 2.6 ล้านคน จำแนกตามลักษณะการเข้าเมืองสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
ทั้งนี้ในจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด กลุ่มที่น่าจะได้รับประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าแรงมากที่สุด มีดังนี้
แรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม)
ณ เดือนตุลาคม 2565 ได้รับอนุญาตทำงานตามมาตรา 59 มีจำนวนทั้งสิ้น 545,907 คน งานที่ได้รับอนุญาตทำงานใน 2 ตำแหน่งงาน คือ งานกรรมกร และงานรับใช้ในบ้าน ใน 25 ประเภทกิจการ โดยแยกเป็นประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
แรงงานต่างด้าวทีเข้ามาทำงานในลักษณะ ไป - กลับหรือตามฤดูกาล
ณ เดือน ตุลาคม 2565 ได้รับอนุญาตทำงานตามมาตรา 64 มีจำนวนทั้งสิ้น 15,942 คน โดยประเภทกิจกำรที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
แรงงานต่างด้าวประเภทนำเข้าตาม มติ ครม. 29 ธันวาคม 2563
ณ เดือน ตุลาคม 2565 แรงงานต่างด้าวประเภทนำเข้าตาม มติ ครม. 29 ธันวาคม 2563 ได้รับอนุญาตทำงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 412,888 คน โดยประเภทกิจการที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ธนิต โสรัตน์” รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ให้ความเห็นกับฐานเศรษฐกิจว่า มีความเป็นไปได้ว่าถึงที่สุดแล้วหากนโยบายนี้เกิดขึ้นจริงแรงงานต่างด้าวที่ได้รับประโยชน์น่าจะมีราว 2 - 2.4 ล้านคนด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ส่วนแรงงานมีฝีมือทักษะสูง จะได้รับค่าแรงสูงกว่านี้อยู่แล้ว
ข้อมูลการสำรวจแรงงานต่างด้าว
สำหรับจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ได้การรวบรวมข้อมูลคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักรรายมาตรา ประกอบด้วย