บรรยากาศทางการเมืองคึกคักขึ้นเรื่อยๆ หลังจากภาพการเลือกตั้งครั้งหน้าเริ่มฉายภาพชัด ทั้งอายุรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ใกล้ครบวาระมาทุกขณะ อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ตั้ง พ.ร.ป.พรรคการเมือง และพ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ล้วนผ่านฉลุย นอกจากการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครของบรรดาพรรคการเมืองแล้ว การเปิดนโยบายหาเสียงก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากนโยบายโดนใจ คะแนนเสียงย่อมหลั่งไหล นโยบายประชานิยมด้านแรงงาน จึงเป็นหนึ่งในนโยบายดึงดูดคะแนนเสียงจากประชาชน
จากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ปี 2564 ประเทศไทย มีกำลังแรงงานรวม 38.7 ล้านคน จำนวนนี้คือคะแนนเสียงจำนวนมากของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพราะฉะนั้น หลายพรรคการเมืองจึงทยอยออกนโยบายเพื่อเอาใจกลุ่มแรงงาน
พรรคเพื่อไทย
ทั้งหมดภายในปี 2570 ประกาศโดย หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย แพทองธาร ชินวัตร ในการประชุมใหญ่วิสามัญ ประจำปี 2565 (6 ธ.ค. 65) ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย ภายใต้แคมเปญ “คิดใหญ่ ทำเป็นเพื่อไทยทุกคน” เปิด 10 นโยบายเปลี่ยนแปลงประเทศ
พรรคก้าวไกล
ประกาศในงานแถลงข่าวเปิดนโยบายชุดที่สอง “สวัสดิการไทยก้าวหน้า” (5 พ.ย. 65)โดยแกนนำพรรค นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล และนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม.ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์ กทม. พรรคก้าวไกล
พรรคสร้างอนาคตไทย
ประกาศโดย อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ดร.อุตตม สาวนายน ในการแสดงความเห็นต่อประเด็นค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย(8 ธ.ค.65)