“ดร.จักรพล จันทวิมล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตได้ระบุว่า ขณะนี้ ไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก นันยางฯ จึงนำแนวคิด “ย่ำให้เต็มที่ แต่ไม่ย่ำยีใคร” มาเป็นแกนในการสร้างแคมเปญ “BULLY NO MORE” รณรงค์ยุติปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียน
แคมเปญ “BULLY NO MORE” ได้จัดทำสื่อที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ “คำขอโทษจากนันยาง” ซึ่งถือเป็นการสร้างตัวอย่างให้กับสังคม ที่อาจพลาดพลั้งสื่อสารอะไรไปแล้วไปบูลล่คนอื่นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ให้ฉุกคิด และเปลี่ยนมุมมองใหม่ นอกจากนี้ ยังพัฒนา รองเท้าผ้าใบนักเรียนรุ่นพิเศษ “Nanyang ‘BULLY NO MORE’ Special Edition” ที่เปลี่ยนพื้นที่โลโก้นันยาง เป็นข้อความเชิงสัญลักษณ์ BULLY NO MORE เพื่อตอกย้ำจุดยืนให้ชัดเจนมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังให้นักเรียนนำรองเท้าคู่เก่ามาแลกรองเท้ารุ่นพิเศษนี้ โดยรองเท้าคู่เก่าจะถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน Art Installation ที่ประกอบขึ้นเป็นข้อความเชิงสัญลักษณ์ BULLY NO MORE ต่อไป
หากย้อนไปเมื่อปี 2564 นันยาง เคยทำแคมเปญในลักษณะนี้มาแล้ว ชื่อ “#บูลลี่ในโรงเรียน หยุดได้ด้วยนักเรียน” ด้วยการเป็นกระบอกเสียง นำเสียงขอความช่วยเหลือจากโลกโซเชียลมีเดีย มาสกรีนบนพื้น
รองเท้าไซส์ใหญ่ “นันยาง รุ่นใหญ่ Anti-Bully Edition” รองเท้าเบอร์ 40-49 รุ่น Nanyang 205-S ที่นักเรียนนิยมใส่กัน มาสกรีนข้อความลงบนแผ่นรองรองเท้าด้านใน โดยไม่เปลี่ยนคุณสมบัติใดๆ ของรองเท้าทั้งสิ้น แนวคิด
ในปีนั้น คือ ความเชื่อที่ว่า ยังสามารถฝากความหวังกับรุ่นใหญ่ เพื่อหยุดปัญหาบูลลี่ในโรงเรียนได้ทันที
นันยางรุ่น Anti-Bully Edition ที่วางจำหน่ายในร้านรองเท้า ผู้ซื้อจะต้องลุ้นเอาเองว่า นันยางร้านที่ซื้อ มีรุ่นนี้วางขายปะปนอยู่หรือไม่ ถือเป็นกิมมิกในการตลาดด้วย
หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,884 วันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566