“ภูมิธรรม" แนะคิดนอกกรอบ ทางรอดผู้ประกอบการไทย รับมือกติกาโลกเปลี่ยน

12 ก.พ. 2567 | 08:49 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ก.พ. 2567 | 10:17 น.

"รองนายกฯภูมิธรรม เวชยชัย" แนะ ผู้ประกอบการเตรียมรับมือกฎระเบียบโลกใหม่ คิดนอกกรอบ หากไม่เปลี่ยนอนาคตแย่แน่นอน คาดปี 67 เศรษฐกิจขยายตัว 2.8% ความท้าทายคือ ความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกะทรวงพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “แผนและยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ในการผลักดันเศรษฐกิจแลความยั่งยืน” ในงาน ECONONMIC DRIVES 2024 ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ 2567 จัดโดย POSTTODAY ระบุว่า  สถานการณ์ทุกวันนี้ไม่ได้อยู่แบบเดิมโลกมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว และการเปลี่ยนได้สร้างระเบียบโลกใหม่ ถึงแม้เราไม่อยากจะเปลี่ยนแต่ก็ต้องเปลี่ยน ซึ่งในต่างประเทศนอกจะมีการกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ แล้ว ประชาชน ผู้บริโภคในประเทศเขาก็เป็นคนกำหนดด้วย หากสินค้าไม่มีความเป็นความทำลายสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน สร้างความเลื่อมล้ำ สินค้าทำลายป่า เขาก็ไม่ซื้อรวมถึงการดูแหล่งที่มา เพราะฉะนั้นความยากลำบากเหล่านี้เป็นความท้าทายใหม่ และปัญหาที่ต้องเผชิญกับความส่งของโลกอีกหลายเรื่อง

สถานการณ์ปัจจุบันกระทรวงการคลังบอกว่าเศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัว 1.8% ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายตัว 2.6%  และคาดว่าปี 2567 เศรษฐกิจจะขยายตัว 2.8% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกให้กลับมาขยายตัว การบริโภค การลงทุน ภาคอกชน รวมถึงการท่องเที่ยวฟื้นตัว 

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

แต่ยังมีปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ สงครามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  และยังมีปัญหาเกี่ยวกับความท้าทายและความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งสิ่งที่ทำคือต้องติดตามสถานกรณ์สม่ำเสมอ เพราะสถานการณ์เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เช่น สงครามรัฐเซีย - ยูเครน  สงครามฮามาส-อิสราเอล รวมถึงวิกฤตทะเลแดง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

นายภูมิธรรม กล่าวอีกว่า ข้อจำกัดของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้ามันชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ที่เป็นจุดสำคัญที่จะชะลอตัวลง รวมถึงจีนที่ยังมีปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออก และนักท่องเท่ยวจะเข้ามาในประเทศหรือไม่ก็เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้น

“วันนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่ดี แม้จะมีแนวโน้มคลายปมหลายอย่าง เราได้รัฐบาลจากการเลือกตั้งมา แม้จะมีปัจจัยเสริม แต่ยังมีปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่เศรษฐกิจโลกยังชะลตัวและผันผวนอยู่ มันก็เป็นปัญหาที่ทำให้เราต้องคิดให้เยอะขึ้น” ภูมิธรรมกล่าว

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกะทรวงพาณิชย์

รองนายกฯ กล่าวต่อไปว่า การผันผวนทางเศรษฐกิจบางประเทศแย่ไปเลย แต่บางประเทศก็ดีขึ้น ซึ่งการดำเนินธุรกิจในอนาคตเราต้องเห็นครบทุกด้าน และมีช่องว่างให้แทรกตัวเข้าไปได้ เพราะฉะนั้นหัวใจหลักสำคัญ จะต้องดูทั้งสถานการณ์ ปัจจัยอื่นๆ ว่าเราสามารถควบคุมปัจจัย กลไกลต่างๆ ได้ไหม ถ้าคิดแบบเดิม ก็เป็นแบบเดิม หากวันนี้ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง 9 ปีที่อยู่มาเศรษฐกิจแย่  มันก็คงแย่เมือนเดิม ถ้าวันนี้กล้าที่จะคิดใหม่ อาจจะเป็นแบบเดิม แต่มีโอกาสเป็นแบบใหม่ได้เราะคิดแตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่

 

นอกจากสภาพอากาศ ยังมีปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงระเบียบโลกใหม่ที่สำคัญคือความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง รวมถึงเอลนิโญ ที่ผ่านมาองค์สหประชาชาติ(ยูเอ็น) เตือนว่ายุคโลกร้อนกำลังสิ้นสุดลงแล้ว แต่ยุคโลกเดือดได้เริ่มขึ้นแล้ว นี้คือสิ่งที่จะมากำหนดอะไรหลายๆ อย่าง ซึ่งองค์กรต่างประเทศพยายามเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการระดับโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับตัวตามสภาพของ Climate Change  โลกกำลังตั้งเป้าหมายสูงสุดคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มีสุทธิเป็น 0 ในปี 2593 จึงมีการกำหนดกฎระเบียบโลก กำหนดการค้า การผลิต การส่งออกทั้งหมด ตรงนี้เป็นปัญหาสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ทางเศรษฐกิจ ทางสังคมสิ่งแวดล้อม ซึ่งความยั่งยืนอาจจะเป็นทางออกเพียงอย่างเดียวที่คิดได้ในขณะนี้ ฉะนั้นความยั่งยืนจึงกลายเป็นกติกาสากลเกือบทุกประเทศ การคิด การปลูก การผลิต การส่งออก จะต้องตอบโจทย์ความยั่งยืน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกะทรวงพาณิชย์ เป้าหมายการพัฒนาในปัจจุบันเน้นคือความยั่งยืน เป็นกรอบพิจารณาทิศทางของโลกทิศทาง สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ระเบียบ ของประเทศต่าง ๆ ที่กำหนดเรื่องการค้าขาย เช่น สหภาพยุโรป กำหนด European Green Deal (แผนการปฏิรูปสีเขยงและมาตรการทางภาษีของสหภาพยุโรป) เป็นนโยบายของอียู ที่ตั้งการให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้มีสุทธิเป็น 0  ในปี 2593 ทำอย่างไรใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่ม 4 เท่า

ขณะที่เกาหลีใต้บอกว่า Green Deal คือการมุ่งสู่คาร์บอนต่ำ ฉะนั้นแนวโน้มจะไปสู่เรื่องพลังงานหมุนเวียนเพื่อเพิ่มการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และลดพลังไฮโดรเจน ส่วน สิงคโปร คือมีแผนสิงคโปร์สีเขียว จะเห็นได้ว่าทุกประเทศต้องการทิศทางใหม่ หากวันนี้เราปรับตัวก็จะมีแต้มต่อ แต่ถ้าหากยังไม่เข้าใจและไม่ปรับตัว สุดท้ายจะมีปัญหา ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวสามารถเข้าสู่การส่งออกที่ระเบียบโลกใหม่เขารองรับ ในเมื่อเราต้องเผชิญกับกติการะเบียบโลก เราจะใช้นโยบายความยั่งยืนของไทยในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย 

ซึ่งรัฐบาลจะเดินทางไปในกรอบทิศทางกาพัฒนาของโลก โดยได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 มีเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2065 รัฐบาลภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสินธ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มุ่งมั่นให้ไทยบรรลุเป้าหมาย SDGs เราจะพยายามให้เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน ให้มีความสำคัญและเป็นแต้มต่อเพื่อดึงดูดนักลงทุน

ตอนนี้ผู้ประกอบการต้องคือการคิดนอกกรอบ

  1. รู้ เข้าใจ ก้าวทัน
  2. กล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง
  3. คิดเร็วปรับเร็วได้ประโยชน์ คิดช้าปรับช้าอะไรจะเกิดขึ้น

“ทั้งหมดคือแนวคิด ถ้าข้าใจแล้วนำสิ่งนี้มามองโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และกลับมามองตัวเองที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่ และกล้าที่เปลี่ยนแปลง ช่องทางธุรกิจใหม่จะมีความสำเร็จ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือโอกาส แต่โอกาสไม่ได้ลอยมาจากฟากฟ้า   มนุษย์ต้องหาช่องทางในสร้างโอกาสให้กับตัวเราเอง โอกาสที่ฝ่าฝันไปสู่โลกใบใหม่ได้อย่างไร ถ้าไม่ทำอนาคตแย่แน่นอน” ภูมิธรรมกล่าว