หลังจากที่ ครม. ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ รวม 9 คน ไปเมื่อวันที่ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งอำนาจของบอร์ดบริหารฯ ที่จะต้องให้ความเห็นชอบ ในโครงการที่รอคอยมานานกว่า 1ปี เนื่องจากไร้บอร์ด ขสมก.นั้น ได้แก่
จากการตรวจสอบรายงานประจำปี 2565 พบว่า ขสมก. มีผลการดำเนินงานขาดทุนกว่า 8,461.33 ล้านบาท และยังมีหนี้สินรวมกว่า 140,000 ล้านบาท ในปี 2565 ในขณะที่สินทรัพย์รวมกว่า 10,081 ล้านบาทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขสมก.มีแนวโน้มการให้บริการและแผนงานโครงการในอนาคต 2 ส่วน ประกอบด้วย
1. แผนงานโครงการจัดเช่ารถโดยสาร ไฟฟ้า จำนวน 2,013 คัน พร้อมติดตั้งระบบบัตรโดยสาร อิเล็กทรอนิกส์บนรถโดยสาร(E-Ticket) GPS และระบบ WIFI ที่มาพร้อมกับตั๋วรถโดยสาร
2. การพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจ ในพื้นที่อู่จอดรถโดยสาร 4 แห่ง ได้แก่ อู่บางเขน อู่มีนบุรี อู่หมอชิต และอู่ไทรน้อย
โดยอู่บางเขน ตั้งอยู่ที่ 113 ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ พื้นที่ 11 ไร่ และอู่มีนบุรี จำนวนพื้นที่ 10 ไร่ เป็นย่านชุมชนที่มีการเดินทางผ่านหนาแน่น ถือเป็นอู่จอดรถที่มีศักยภาพ โดยผลการศึกษาก่อนหน้านี้ ขสมก.มีเป้าหมายพัฒนาอู่จอดรถทั้ง 2 แห่งในลักษณะโครงการมิกซ์ยูส โดยผสมผสานระหว่างโรงแรมที่พักระดับกลาง แหล่งจัดประชุมสัมมนาห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงร้านอาหารและคอมมูนิตี้มอลล์ประเภทอื่นๆ
มีการประเมินมูลค่าการลงทุนบริเวณอู่บางเขน รวมทั้งสิ้น 2,494 ล้านบาท โดย ขสมก.จะเป็นผู้ลงทุนที่ดิน ส่วนเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างอาคารทั้งหมด โดยให้สัมปทานเช่าพัฒนาที่ดินรวม 30 ปี แบ่งออกเป็น ค่าธรรมเนียม การใช้สิทธิ์ 278 ล้านบาท ค่าตอบแทนระหว่างการก่อสร้าง 13 ล้านบาท ผลตอบแทนจากค่าเช่า 514 ล้านบาท
ส่วนพื้นที่บริเวณอู่มีนบุรี มีมูลค่าลงทุนราว 1,386.88 ล้านบาท ขสมก.มีแนวคิดจะพัฒนาเป็นตลาดและร้านค้า รวมทั้งการพัฒนาเป็นตลาดและร้านอาหารริมนํ้าบริเวณคลองสามวา โดยจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนภายใต้สัมปทานเช่าระยะ 30 ปี หลังสิ้นสุดสัมปทานเอกชนจะต้องโอนที่ดินและทรัพย์สินทั้งหมดคืนให้ ขสมก.โดยจะมีการก่อสร้างเฉพาะอาคารตลาดและร้านค้า
ส่วนอีก 2 แห่งคือ อู่หมอชิต มีพื้นที่ 16 ไร่ ข้างสถานีขนส่งหมอชิต 2 และอู่ไทรน้อย โดยเป็นการเช่าพื้นที่โกดังสินค้า บริเวณก่อนถึงวัดไทรน้อย ถ.บางกรวย-ไทรน้อย มีพื้นที่ 7 ไร่ เริ่มใช้งานวันแรก เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562
เมื่อดูงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 พบรายละเอียดดังนี้
สินทรัพย์รวมกว่า 10,081 ล้านบาท แบ่งเป็น
สินทรัพย์หมุนเวียน
รวมสินทรัพย์หมุนเวียนกว่า 7,072 ล้านบาท
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนกว่า 3,009 ล้านบาท
ในขณะที่ มีหนี้สินรวมกว่า 140,177 ล้านบาท และมีรายได้รวมกว่า 7,374 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการเดินรถกว่า 2,656 ล้านบาท , รายได้ เงินอุดหนุนจากรัฐบาลกว่า 4,572 ล้านบาท และรายได้อื่นกว่า 144 ล้านบาท
ซึ่งขสมก. มีค่าใช้จ่าย ด้านต้นทุนในการเดินรถกว่า 8,072 ล้านบาท , ค่าใช้จ่ายในการบริหารกว่า 5,285 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นอีกกว่า 85.6 ล้านบาท จึงทำให้ ขสมก. ขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 2565 กว่า 8,461.33 ล้านบาท