วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมกราคม 2567 การส่งออกไทยในเดือนมกราคม 2567 มีมูลค่า 22,649.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 เพิ่มขึ้น 10% เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2566 และขยายสูงสุดในรอบ 18 เดือน การนำเข้า มีมูลค่า 25,407 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2.6% ขณะที่ดุลการค้ายังขาดดุล 2,757.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
สำหรับกลุ่มสินค้าเกษตร ขยายตัว 14% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 3.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน ซึ่งสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัว 27.0%, น้ำตาลทราย หดตัว 16.2%, ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัว 58.8%
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 10.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ซึ่งมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัวได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัว 4.7%, เคมีภัณฑ์ หดตัว 1.6%, เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัว 10.5%, อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หดตัว 9.5%
นายกีรติ รัชโน กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 การส่งออกไทยยังคงได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าตามภาวะเงินเฟ้อโลกที่เริ่มชะลอตัว การได้รับอานิสงส์จากมาตรการรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารของหลายประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่มีความเข้มแข็ง
ขณะที่ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางยังไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อไทยมากนัก
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคการขนส่งที่เกิดจากความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลในทางอ้อมทำให้อัตราค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้น และอาจทำให้เศรษฐกิจคู่ค้ามีความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในอนาคต ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนอาจจะยังมีความผันผวน จากทิศทางการปรับเปลี่ยนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มีการติดตามประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก อย่างไรก็ตามก็จะพยายามผลักดันให้มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2567 โตขึ้น 1-2% ซึ่งในจะต้องมีตัวเลขส่งออกเฉลี่ยกว่า 23,000-24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน