นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการเดินทางไปติดตามผลการการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เพื่อติดตามประเด็นเจรจาที่สำคัญ พร้อมทั้งหารือผู้ประกอบการไทยที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้ปรับตัวกับกติกาการค้าใหม่ สร้างแต้มต่อทางการค้าระหว่างประเทศ
สำหรับสาระสำคัญของการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอเอกสารสำคัญต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบท่าทีไทย และรับรองเอกสารที่จะเป็นผลลัพธ์สำหรับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยมีเรื่องเร่งด่วนและสำคัญ ซึ่งปัจจุบันสมาชิกอยู่ระหว่างการหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน อาทิ
โดยมีรายละเอียดของแต่ละประเด็นดังนี้
สมาชิกได้มีการเจรจาจัดทำกฎเกณฑ์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ได้มีการเวียนร่างกฎเกณฑ์เรื่องการห้ามอุดหนุนที่นำไปสู่การทำประมงที่เกินศักยภาพและการทำประมงที่เกินขนาด (Overcapacity & Overfishing)โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่
1.1 ห้ามให้การอุดหนุนที่นำไปสู่ Overcapacity & Overishing หากสมาชิกสามารถแสดงได้ว่ามีการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืนทางชีวภาพ ก็ยังสามารถให้การอุดหนุนที่เข้าข่ายห้ามกระทำดังกล่าวได้
1.2 ให้ประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมถึงไทย) และ LDCS ได้รับการยกเว้นจากการห้าม ให้การอุดหนุนที่นำไปสู่ Overcapacity & Overfishing ในด้านต่าง ๆ เช่น ยกเว้นจากการห้ามอุดหนุนภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ และในพื้นที่และชนิดพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง และยกเว้นการห้ามอุดหนุนแก่ประมงพื้นบ้านภายในเขตหรือ 24 ไมล์ทะเลนับจากเส้นฐาน
ทั้งนี้ ประเทศที่มีการทำประมงเกินกว่าเขตการทำประมงหลัก ที่อยู่ถัดจากเขตการทำประมงที่อยู่ติดกับแนวชายฝั่งของตนตามที่กำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
จะไม่สามารถใช้ข้อยกเว้นตามข้อ 1.2 ได้ และให้สมาชิกแจ้งข้อมูลต่อคณะกรรมการด้านการอุดหนุนประมงภายใต้ WTO โดยต้องแจ้งรายชื่อของเรือประมงและผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานบังคับ รายละเอียดของความตกลงเพื่อเข้าไปทำประมงในชายฝั่งของประเทศอื่น และข้อมูลการอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไม่เฉพาะเจาะจง
ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ประเทศไทยจะดำเนินการเจรจาภายใต้กรอบดังนี้
ทั้งนี้ หากมีการเสนอถ้อยคำหรือจัดทำเอกสารเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของสมาชิก WTO ในระดับนโยบายที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวข้างต้น หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ กระทรวงพาณิชย์ให้การยอมรับและเข้าร่วมรับรองได้
สมาชิกร่วมกันเจรจามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2544 โดยมีอยู่สาขาหลัก ได้แก่ การเปิดตลาด การอุดหนุนภายใน และ การแข่งชันการส่งออก ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ประเทศไทยจะดำเนินการเจรจาภายใต้กรอบคือสนับสนุนการเจรจาปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรอย่างครอบคลุมทุกประเด็น เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวในการลดการอุดหนุนและการปกป้องการค้าสินค้าเกษตร
โดยให้มีความยืดหยุ่นกับประเทศกำลังพัฒนา และสามารถร่วมฉันทามติในการให้ข้อยกเว้นหรือความยืดหยุ่นที่เป็นพิเศษแก่ LDCs และประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้นำเข้าอาหารสุทธิ ในการรับมือกับประเด็น อาทิ ความมั่นคงทางอาหารมาพิจารณาประกอบการเจรจาปฏิรูปการค้าเกษตร
โดยพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมในตลาดโลก และให้ความยืดหยุ่นสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและ LDCs รวมทั้งโอกาสในการทบทวนหลักเกณฑ์และความโปร่งใสของการอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนการค้า (Green Box)
ซึ่งประเทศไทย ก็สนับสนุนการเจรจาให้จำกัดและลดเพดานการอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรที่บิดเบือน โดยประเทศที่มีระดับเพดานการอุดหนุนสูงจะต้องลดการอุดหนุนในสัดส่วนที่มาก
ในขณะที่ประเทศที่มีระดับเพดานการอุดหนุนต่ำกว่าจะให้ลดการอุดหนุนในสัดส่วนที่น้อยกว่า โดยให้มีข้อยืดหยุ่นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
และLOCs รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการทบทวนหลักเกณฑ์การอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนการค้า เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนการค้า
โดยประเทศไทยจะสนับสนุนให้เจรจาการเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยการลดภาษีสินค้าเกษตร โดยให้สินค้าเกษตรที่มีอัตราภาษีสูงลดภาษีลงในอัตราที่มากกว่าสินค้าเกษตรที่มีอัตราภาษีต่ำ และให้มีข้อยืดหยุ่นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
โดยประเทศไทย ยืนยันพันธกรณีในการห้ามอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรตามข้อตัดสินใจของรัฐมนตรี WTO และสนับสนุนให้มีการดำเนินการเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการกำหนดกฎเกณฑ์ มาตรการการแข่งขันส่งออกอื่น ๆ โดยให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา
โดยประเทศไทย สนับสนุนการหารือเพื่อปรับปรุงความโปร่งใสในการแจ้งการดำเนินมาตรการการห้ามและจำกัดการส่งออก รวมทั้งการทบทวนกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีความชัดเจน โดยผลักตันให้มีข้อยืดหยุ่นสำหรับการแจ้งการใช้มาตรการของประเทศกำลังพัฒนา
ซึ่งประเทศไทย ก็สนับสนุนให้ยกเว้นไม่ใช้มาตรการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าอาหารกับ LDCs และ NFIDCS ที่นำเข้าสินค้าอาหารสำหรับการบริโภคภายในประเทศ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของ LDCs และ NFIDCSสอดคล้องกับการดำเนินการช่วยเหลือ LDCs ของไทย
ซึ่งสมาชิกหลายประเทศมีข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปดังกล่าว ทั้งกลไกหารือและจัดประชุมระดับต่าง ๆ การเสริมสร้างความโปร่งใสและความครอบคลุม เพื่อให้การดำเนินงานภายใต้ WTO มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และทุกสมาชิกมีส่วนร่วมมากขึ้น ยกระดับความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก รวมถึงเพื่อทบทวนกฎเกณฑ์ของ WTO ให้สอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจ การค้าในปัจจุบันและความท้าทายใหม่ในอนาคต
โดยประเทศไทย จะสนับสนุนการหาข้อสรุปการปฏิรูป WTO เพื่อปรับปรุงกลไกการทำงานของ WTO ให้มีประสิทธิภาพ และรองรับบริบทการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน โดยไม่สร้างภาระผูกพันสมาชิกมากเกินควรกลุ่มพันธมิตรของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การค้าสินค้าเกษตรมีความเสรีและเป็นธรรม ประกอบด้วยสมาชิก ๑๙ ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราชิล แคนาตา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกากัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปารากวัย เปรู ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ไทย อุรุกวัย และเวียดนาม และมียูเครนเป็นประเทศผู้ร่วมสังเกตการณ์
การสนับสนุนสมาชิกที่พันสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LDCs Graduatien) สมาชิกอยู่ระหว่างการหารือข้อเสนอของกลุ่ม LDCs 2 ฉบับ เพื่อสนับสนุน LDCs Graduation
ได้แก่ การขยายสิทธิพิเศษการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา หลังสมาชิกพ้นสถานะ LDCs และการแสวงหามาตรการสนับสนุน LDCs Graduation ซึ่งครอบคลุมถึงการขยายสิทธิ SDT และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามความตกลง WTO หลังสมาชิกพ้นสถานะ LDCs
โดยประเทศไทย สนับสนุนการหารือรายละเอียดแนวทางและมาตรการสนับสนุน LDCs Graduation ตามข้อเสนอของกลุ่ม LDCS โดยต้องพิจารณารายละเอียดของข้อเสนอในรายประเด็นหรือรายความตกลง และขอบเขตความครอบคลุมของ SDT ปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในความตกลง WTO โดยให้สามารถร่วมฉันทามติในการขยายสิทธิ SDT และความยึดหยุ่นในการปฏิบัติตามความตกลง WTO แก่สมาชิกที่พ้นสถานะ LDCร โดยไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญแก่สมาชิกอื่นและมีกรอบระยะเวลาเหมาะสมตามที่สมาชิกทั้งหมดบรรลุฉันทามติร่วมกัน
ได้เสนอร่างข้อตัดสินใจรัฐมนตรีว่าด้วยแผนการดำเนินงานสำหรับเศรษฐกิจขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นผลลัพธ์ ของการประชุม MC13 เพื่อสนับสนุนการบูรณาการกลุ่ม SVEs เข้ากับระบบการค้าพหุภาคี โดยล่าสุดที่ประชุมว่าด้วยเศรษฐกิจขนาดเล็ก
ประเทศไทย สามารถร่วมการรับรองร่างข้อตัดสินใจรัฐมนตรีว่าด้วยแผนการดำเนินงานสำหรับเศรษฐกิจขนาดเล็ก และเห็นควรให้มีการพิจารณาความสอดคล้องของแนวทางการ ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานดังกล่าวควบคู่ไปกับการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการอื่น ๆ ด้วย
สมาชิกได้หารือประเด็นการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรฯ ในรูปแบบ Dedicated Discussion ภายใต้ WP โดยเน้นการทำความเข้าใจร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องระหว่างกัน แต่ยังไม่มีการหารือเชิงเทคนิคหรือหาข้อสรุปในส่วนขอบเขตและคำนิยามของ "electronic transmissions" ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย (สำนักงานเศรษฐกิจการคลังและกรมศุลกากร) ยังคงยืนยันว่าไม่สามารถยอมรับการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรฯ แบบถาวรได้ และยืนยันให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติปัจจุบันในการทบทวนแนวปฏิบัติร่วมกันระหว่างสมาชิกทุก 2 ปี หรือตามรอบการประชุม MC หากสมาชิกยังไม่สามารถหาฉันทามติร่วมกันได้
โดยประเทศไทย สนับสนุนการต่ออายุการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการชั่วคราวไปจนถึงการประชุม MC14
สมาชิกอยู่ระหว่างการหารือถ้อยคำเกี่ยวกับการค้าและสิ่งแวดล้อมในเอกสารผลลัพธ์การประชุม MC13 ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น ยืนยันบทบาทของระบบการค้าพหุภาคีในการตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ การส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม