จากกรณีกระทรวงการคลังได้เปิดตัวนโยบาย “สลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ” หรือ “สลากเกษียณ” หรืออย่างไม่เป็นทางการว่า “หวยเกษียณ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายที่นำพฤติกรรมชอบเสี่ยงดวงของคนไทยมาเป็นแรงจูงใจในการเก็บออมเงิน โดยนอกจากจะได้ลุ้นรางวัลแล้วยังเป็นการสะสมเงินไปในตัว โดยเงินที่ซื้อหวยเกษียณทั้งหมดสามารถถอนออกมาได้เมื่ออายุครบ 60 ปี
โดยจะเปิดให้ซื้อ “หวยเกษียณ” ผ่านแอปพลิเคชันของกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)ในลักษณะสลากขูดแบบดิจิทัล โดยขายให้กับ 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ 1.สมาชิก กอช. 2. ผู้ประกันตนมาตรา 40 และ 3. แรงงานนอกระบบ โดยอาจะมีกลุ่มเป้าหมายจะเพิ่มเติมภายหลัง ซึ่งสามารถซื้อได้ทุกวัน แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน และออกรางวัลทุกวันศุกร์ เวลา 17.00 น. เป็นรางวัลที่ 1 จำนวน 5 รางวัล รางวัลละ1,000,000 บาท และรางวัลที่ 2 จำนวน 10,000 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า “ปัจจุบันการใช้งบประมาณสำหรับดูแลเบี้ยชราสูงถึงปีละหลายแสนล้านบาท แต่หวยเกษียณดังกล่าวใช้เงินงบประมาณมาดำเนินการ เฉลี่ยใช้งบเพียงสัปดาห์ละ 15 ล้านบาท คิดเป็นเดือนละ 60 ล้านบาท หรือปีละ 700 ล้านบาทเท่านั้น และขั้นตอนในการดำเนินการสามารถทำได้ด้วยการแก้ไขกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มเติม คาดว่าจะสามารถเริ่มได้ในปี 2568”
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจาก กรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า งบประมาณภาพรวมด้านผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2566 มีวงเงินสูงถึง 90,583.2355 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบสวัสดิการด้านผู้สูงอายุ 89,675.0527 ล้านบาท งบบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 448.6718 ล้านบาท และงบ Function 459.5110 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดการใช้งบประมาณด้านผู้สูงอายุในแต่ละด้าน มีดังนี้
ทั้งนี้ งบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 ใช้งบประมาณด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 56,462 ล้านบาท ปี 2565 ใช้งบประมาณด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 82,341 ล้านบาท