การเปิดเวทีสาธารณะ "กรณี 6.8 หมื่นล้าน ในการประมูล รถไฟสายสีส้ม" ผลประโยชน์..หรือค่าโง่!ที่รัฐฯ ต้องมีคำตอบ" จัดขึ้นโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT)เมื่อวันที่ 21ตุลาคม2565ที่ผ่านมา
ที่พูดถึงกันมากคือปมการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ได้ผู้ชนะการประมูล และขอรับการสนับสนุนค่าก่อสร้างวงเงิน78,287 ล้านบาท
ขณะ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC เปิดซองราคาที่ยื่นไว้ตั้งแต่การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รอบแรกปี 2563 ขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเพียง 9,676 ล้านบาท น้อยกว่าผู้ชนะประมูล6.8 หมื่นล้านบาท
จากข้อสังเกต ดร. มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)หรือACT ระบุ ว่าปมการประมูลสายสีส้มรอบแรกไม่มีผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม ได้เข้าไปในการประมูลครั้งที่สองที่พบว่านำทีโออาร์เก่ามาปรับปรุง เพราะฉะนั้นผู้สังเกตการณ์ที่เข้าไปจึงแสดงความคิดเห็นได้น้อยเกี่ยวกับข้อตกลงคุณธรรม
จี้บิ๊กตู่สอบผลประมูลสายสีส้ม
ที่สำคัญเมื่อเข้าไปทำงานมีบางครั้งที่ไม่ได้รับแจ้งให้เข้าร่วมประชุมทำให้ขาดข้อมูลที่จะใช้ประกอบ เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ดังนั้นการ บอกว่าโครงการนี้การดำเนินการทุกอย่างโปร่งใส เพราะมีข้อตกลงคุณธรรมแล้ว ดังนั้น ต้องมาพิสูจน์ร่วมกัน
อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า โปร่งใสหรือไม่โปร่งใส อย่างไร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบโดยผู้มีอำนาจ ให้ นายกรัฐมนตรีตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน มีความโปร่งใสหรือไม่
ทบทวนประมูลสายสีส้มใหม่
ขณะมุมสะท้อน ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ระบุว่าการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มเกิดจากปัญหาหลายปัจจัย จนเกิดการฟ้องร้อง
โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา หากรัฐบาลมองว่ายังดำเนินการต่อไปได้ก็ดำเนินการต่อไป ทีดีอาร์ไอมีข้อเสนอแนะรัฐบาลให้ทบทวนการประมูลใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งนี้ TDRIเสนอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม หากการประมูลในปัจจุบันไม่สามารถไปต่อได้ รวมถึงการประมูลในอนาคต
ข้อเสนอให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการประมูลโครงการ