การจัดงาน ASEAN Ceramics 2022 นิทรรศการเครื่องจักร เทคโนโลยี และวัสดุชั้นนำระดับนานาชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นอกจากจะนำเสนอการผลิตเซรามิกขั้นสูง รวมถึงงานด้านวิชาการกับการประชุมสัมมนาด้านเซรามิกส์โดย ICTA ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีขึ้นระหว่าง 30 พ.ย. – 2 ธ.ค. นี้ ถือเป็นงานระดับนานาชาติที่แสดงถึงศักยภาพของผู้ประกอบการไทย
นางสาวปุณณภา อ่อนสาร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ AES (Asian Exhibition Services) ที่ปรึกษางานจัดแสดงสินค้า ASEAN Ceramics 2022 เปิดเผยว่า AES ร่วมมือกับบริษัท เอ็มเอ็มไอ เอเชีย จำกัด (MMI Asia) ตัวแทนของ Messe München ประเทศเยอรมนี ผู้จัดงาน ceramitec ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าเซรามิกชั้นนำของโลก
เพื่อนำ ASEAN Ceramics ไปสู่ความเป็นเลิศระดับสากลในตลาดหลัก 2 แห่งของภูมิภาค ได้แก่ ไทยและเวียดนาม ทั้งนี้เชื่อว่า AES ผนวกกับเครือข่ายที่กระจายอยู่ทั่วโลกของ เมสเซ่ มิวนิค จนเกิดเป็นความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้สัมผัสประสบการณ์ตรงกับสิ่งที่ผู้ประกอบการนำมาแสดงภายในงาน สำหรับอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้การจัดนิทรรศการและการประชุมจะยังคงสลับไปมาระหว่างไทยและเวียดนามทุกปี โดยในช่วง 3 วัน จะมีผู้แสดงสินค้ามากกว่า 100 รายและผู้เยี่ยมชมกว่า 3,000รายจากเกือบ 30 ประเทศทั่วโลก อาทิ อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยผู้เข้าชมจากต่างประเทศจะเป็นกลุ่มประเทศอาเซียน 82.4% เอเชีย 10.2% ยุโรป4.0 % อื่นๆ 1.6%
สำหรับการร่วมงานนิทรรศการในครั้งนี้ จะแบ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ตั้งแต่เซรามิก ดั้งเดิมไปจนถึงเซรามิกขั้นสูง ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์อวกาศ เครื่องมือแพทย์ ยุทโธปกรณ์ ฯลฯ อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของ Messe München ผ่านเครือข่าย ceramitec (มิวนิค) และ Indian ceramics Asia และ Ceramics China ครอบคลุมตลาดใหญ่ทั่วโลก
โดยภายในงานจะนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ การผลิตแบตเตอรี่เซรามิกขั้นสูง การพิมพ์ 3 มิติ ความทนทาน พลังงานสีเขียว การประหยัดพลังงาน การพิมพ์ดิจิทัล และการวิจัยและนวัตกรรม อีกทั้งโซลูชัน เทคโนโลยี และเครื่องจักรอันล้ำสมัยต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงภายในงาน
ได้แก่ 5 กลยุทธ์การตลาดสายผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เช่น DigitalGlass และ KRYSTAL เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เซรามิกทั่วโลกด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมโดย Younexa (Thailand) Co., Ltd ,เทคโนโลยีการเคลือบประสิทธิภาพและโซลูชันการทำให้เป็นดิจิทัลโดย Ferro Performance Materials (Thailand) Co., Ltd/Vibrantz Technologies
ผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วในภาคอุตสาหกรรม เช่น วัสดุอลูมินาชนิดพิเศษและอะลูมิเนียมไตรไฮเดรตจาก Hindalco Industries Limited ,การปรับปรุงกระบวนการผลิตวัตถุดิบ สุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารให้ทันสมัยและเหมาะสมที่สุด บุกเบิกโดย Source Runner Enterprise Co., Ltd./MCS Portugal ,Younexa (Thailand) Co., Ltd: KRYSTAL น้ำยาขัดเงา โปร่งใส และป้องกันรอยขีดข่วน เป็นต้น
นายไมเคิล วิลตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอ็มไอ เอเชีย จำกัด ตัวแทน เมสเซ่ มิวนิค กล่าวว่า งานASEAN Ceramics 2022 ที่กำลังจะจัดขึ้น จะส่งเสริมความรู้ ความร่วมมือ และการเติบโตในอุตสาหกรรมผ่านการแลกเปลี่ยนความคิด ส่งเสริมความสัมพันธ์ นำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชันใหม่ๆ และการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
“ASEAN Ceramics 2022 เป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดและงานเดียวสำหรับอุตสาหกรรมเซรามิกส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. -2 ธ.ค. 2565 ทั้งนี้ภายในงานยังมีนิทรรศการ งานสัมมนา มีกิจกรรมทัวร์โรงงานก่อนงาน โปรแกรมจับคู่ธุรกิจชั้นนำ และงานเลี้ยงอาหารค่ำและเจรจาธุรกิจกับกลุ่มผู้ประกอบการด้วย”
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมฟรี และเปิดโอกาส การเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และเชื่อมต่อกับผู้แสดงสินค้าที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน ตลาดการผลิตที่หลากหลายในด้านการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ วัตถุดิบ ฉนวน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของกำนัล ของใช้ วัสดุทนไฟ ดินเหนียว และเซรามิกขั้นสูง
ด้านดร.สมนึก ศิริสุนทร นายกสมาคมเซรามิกส์ไทย กล่าวว่า หนึ่งในกิจกรรมที่น่าสนใจคือ การประชุมสัมมนาด้านเซรามิกส์ งานประชุมวิชาการ International Conference on Traditional and Advanced Ceramics (ICTA) จัดทุก 2 ปีตั้งแต่ปี 2012 และเป็นงานประชุมวิชาการที่จัดร่วมกับ ASEAN Ceramics 2022 งานแสดงสินค้า และเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุด
เพื่อนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับเซรามิก และเทคโนโลยีล่าสุด ทั้ง traditional ceramics และ advanced ceramics งานประชุมวิชาการนี้เป็นงานประชุมเดียวที่นำนักวิจัย จากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยชั้นนำทั้งจากต่างประเทศและในประเทศไทย ได้มาแลกเปลี่ยน ความรู้ นำเสนองานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมล่าสุด กับภาคอุตสาหกรรม
ในปีนี้ ได้รับเกียรติจาก Prof.Dr. William M. Carty จากมหาวิทยาลัย Alfred สหรัฐอเมริกา มาเป็น Plenary speaker ในหัวข้อ “A Comprehensive View of the Mineralogy of Porcelain and the Connection to Advanced Ceramics" ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจ ถึงความสัมพันธ์ ของเฟสต่างๆในเนื้อดิน พอร์ซเลน และ ผลต่อสมบัติ และยังประยุกต์ไปถึง advanced ceramics
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและนวัตกรรม สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการเซรามิกส์ ทั้งในภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการนำเสนอการวิจัยใหม่ไปจนถึงแนวโน้มนวัตกรรมระดับโลกและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซรามิกของโลก
“การประชุมมุ่งที่จะผสมผสานความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเซรามิกในปัจจุบันและที่กำลังพัฒนา การวิเคราะห์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการประชุมเต็มระดับสูงที่กระตุ้นความคิดอย่างเข้มข้น เราจะมุ่งเน้นที่ความยั่งยืน การเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในเซรามิกส์ จึงอยากเชิญชวนผู้ประกอบในแวดวงเซรามิกส์เข้าร่วมงาน เพื่อเข้ามาหาเครื่องไม้เครื่องมือค้นหาแนวคิดใหม่
พร้อมหาตลาดต่างประเทศ ใช้วิกฤติเป็นโอกาศในช่วงบาทอ่อน หนุนธุรกิจอยู่ต่อ หลังเจอวิกฤติเศรษฐกิจและโควิด 19 จะช่วยให้พัฒนาธุรกิจอยู่ต่อได้อย่างไร จากปัจจุบันอุตสาหกรรมเซรามิกส์ประสบปัญหาค่าแรง ค่าลังงานเชื้อเพลิง ราคาขายในประเทศไม่ดี ผู้ประกอบการที่อยู่ได้คือผู้ส่งออกที่ได้รับอนิสงค์ค่าเงินบาทอ่อนตัว จึงขอเชิญชวนเข้าร่วมงานเพิ่อหาแนวทางใหม่ๆในการดำเนินธุรกิจต่อไป”