นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อมายาวนานและยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายไปในทิศทางใด ซึ่งศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบของสงครามดังกล่าวที่กระทบกับเศรษฐกิจโลกว่าจะมีผลต่อจีดีพีโลกหายไปถึง-0.7—1.3% ในปี2556
และในปี2566จีดีพีโลกจะหายไป-0.4—1% ส่งผลให้ทั่วโลกมีอัตราเงินเฟ้อคาดว่าเท่ากับ5-6.5%ซึ่งทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงาน และจะทำให้การค้าของโลกในปีนี้ ขยายตัวได้เพียง1%เท่านั้น จากที่ปี65ขยายตัวได้ถึง3.5% ผู้ประกอบการและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในการลงทุนลดลงรวมไปถึงการค้าระหว่างประเทศด้วย
ในขณะที่ผลกระทบที่มี่ต่อไทย จะทำให้การส่งออกไทยติดลบถึง1.7% ซึ่งศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศได้ทำการแบ่งออกเป็น2รูปแบบคือ ผลกระทบต่อการส่งออกไปรัสเซีย-ยูเครน คิอเป็น0.43%ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทยซึ่งถ้าสงครามรัสเซียยังคงยืดเยื้อในปี2566ไทยจะมีมูลค่าการส่งออกไป2ประเทศนี้ลดลง-0.1%
และผลกระทบต่อการส่งออกโลก พบว่าการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซียผ่านการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งถ้ายืดเยื้อจะทำให้มูลค่าการส่งออกไทยหายไป-0.7ถึง-1.7% หรือมูลค่า2,011-5,028ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาท 72,396-181,008ล้านบาทเลยทีเดียว
ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาพลังงานปีนี้นั้นยังคงมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการตอบโต้ของรัสเซียกับการจำกัดเพดานราคาน้ำมันตามนโยบายPrice Cop ของG7 ยุโรปและออสเตรเลียและรัสเซียไม่ขายน้ำมันให้กับประเทศที่รับ Price Cop5เดือนทำให้ผลผลิตน้ำมันลดลง ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลต่อความต้องการพลังงานในยุโรปเพิ่มขึ้น และเอเปคลดกำลังการผลิตลง2ล้านบาร์เรลต่อวัน และล่าสุดจีนเองมีการเปิดประเทศดังนั้นความต้องการน้ำมันของจีนที่เพิ่มขึ้นเมื่อจีนเปิดประเทศส่งผลให้ราคาสูงขึ้น