ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ นายกสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กล่าวในงาน “Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม” จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ภายใต้หัวข้อ “บริบทโลกเปลี่ยน สมการการเงิน ลงทุนโลกปรับ” ว่าคนไทยกำลังสับสนท่ามกลางการบริโภคข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งต้องระมัดระวัง 50 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีการเติบโตมาก มีการส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ แรงงานเกือบ 8 แสนคน ซึ่งไทยต้องให้ความสำคัญกับโฟกัสหลัก ปัญหาที่เจอขณะนี้ คือ 1.เงินเฟ้อ เงินฝืด 2 เทคโนโลยีเปลี่ยน และ 3 สภาวะอากาศและ ความยั่งยืน อย่าไปหลงประเด็นชิปขาด
“ปัญหาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใด้อยู่ที่ชิปขาดตลาด แต่ปัญหาอยู่ที่ 1.ปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด 2. เทคโนโลยีเปลี่ยน และ 3. ภาวะภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป โดยอย่าไปสับสน Geopolitics ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นกฎเกณฑ์เงื่อนไข “
วันนี้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย เติบโตมาถึงทุกวันนี้ไม่ใช่ไฮเทค เทคโนโลยี แต่เป็นกลุ่มกึ่งๆ สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ยังเชื่อประเทศใน 5-10 ปีข้างหน้าต้องเดินตามจุดแข็งดังกล่าวนี้ไว้ เพราะเป็นความน่าเชื่อถือของโลกที่มีต่อประเทศไทย โดยที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม เราสามารถปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ไม่ต้องสนใจไฮเทคโนโลยี
“ถ้าเราอยากคบทั้ง 2 ขั้ว ไม่ต้องสนใจเรื่องซูเปอร์ไฮเทค เพราะโจทย์มันยากมาก ถ้าต้องการดึงซูเปอร์ไฮเทคเข้ามาลงทุนตอนนี้คุยกัน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดบางประเทศยอมจ่าย 400,000 ล้านบาท เพื่อดึงอุตสาหกรรมซูเปอร์ไฮเทคมาลงทุน เราอยู่ในตลาดระดับกลาง ที่มีการเติบโตอยู่แล้ว ซึ่งต้องรักษาจุดแข็งเอาไว้”
ดร.สัมพันธ์ กล่าวต่อไปว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย นั้นระยะสั้น จะเห็นมีการลดมากมาย โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อ่อนแอ และป่วยง่าย โดยจะเห็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศลดคน ซึ่งเป็นการใช้ยุทธศาสตร์ หดเพื่อโต ซึ่งช่วงที่ผ่านมาไทยสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพดีมาก ถ้ารักษาลีนตรงนี้ไว้ได้ ไทยสามารถเติบโตไปได้อีก 3-5 ปีช้างหน้า
อย่างไรก็ตามไทยมีจุดอ่อน คือ เราก้าวไปทีละก้าวอย่างระมัดระวัง ซึ่งต้องก้าวยาวมากขึ้น ก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ขณะเดียวกันต้องมีการเรียนรูปแบบธุรกิจใหม่ หรือ นิวบิสซิเนส โมเดลใหม่ และรองรับเทคโนโลยีใหม่ เตรียมพร้อมกรีนเทคโนโลยี
นอกจากนี้ยังต้องมีความชัดเจนเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และความยั่งยืน วันนี้ภาพลักษณ์ไทยทำได้ดี และผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายเรื่อง แต่อีก 5-10 ปีข้างหน้า เป็นคนละโจทย์ ซึ่งต้องชัดเจนเรื่องความยั่งยืนมากกว่านี้ จะทำให้อุตสาหกรรมที่มีอยู่มั่นใจ ขณะที่อุตสาหกรรมใหม่ที่เข้ามากล้าที่จะลงทุน
“อยากเห็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยนำเปลี่ยนแปลงค่าแรง เพราะเป็นอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของประเทศ แต่ไทยต้องก้าวให้เร็วขึ้น ให้ทันกับเทคโนโลยีที่ก้าวเร็ว”
นอกจากนี้ยังมองว่าประเทศไทยขาดความร่วมมือ โดยอุตสาหกรรมมีความร่วมมือกันผิวเผิน โดยอยากเห็นอุตสาหกรรมใหญ่ จับมือร่วมกับเอสเอ็มอีที่เป็นซัพพลายเออร์ แลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้น เช่นเดียวกับภาคการศึกษา ที่ผลิตคนไปตามใจตัวเอง แต่ต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม ขณะที่ภาครัฐ ต้องการดึงอุตสาหกรรมต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก ต้องดูว่าเราได้ประโยชน์อะไร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเวิล์ดคลาส ไฮสแตนดาร์ท เราต้องพยายามดึงองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์
ทั้งนี้ข้อมูลจากบริษัทวิจัย แมคแคนซี ระบุว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลกกระจุกไม่กี่ประเทศ และที่มีอยู่ไม่แข็งแรง เนื่องจากซัพพพลายเชนยาวมาก ไทยเป็นหนึ่งประเทศที่มีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์การกระจุกตัว ซึ่งหากรัฐบาลจะดึงต่างประเทศมาลงทุน รัฐบาลจะดูแลอย่างไร จะทำอย่างไรให้เขาแข็งแรง ภาคอุตสาหกรรมต้องมีความร่วมมือ รายใหญ่ต้องช่วยรายเล็ก ทุกคนได้ผลประโยชน์ร่วมกัน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยใหญ่มาก แม้ว่าจะอยู่ในของการกระจุกแต่มีความเข้มแข็งก็สามารถอยู่ได้ เพราะฉะนั้นพาร์ทเนอร์ชิป จึงมีความสำคัญ
สำหรับการเปลี่ยนแปลงการเมือง ไม่มีผลมากกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ผ่านมาการเมืองสีเสื้อ ผ่านทั้งน้ำท่วม ซึ่งสามารถฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว โดยมีรัฐบาลให้ความช่วยเหลือ เช่นเดียวกับโควิด อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะรัฐบาลก็ช่วยเหลือ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจะมาจากกลุ่มไหน เราก็ได้รับการยอมรับจากประเทศ ว่าประเทศไทยคือเดอะเบสต์