มหาดไทยรุกแพลตฟอร์มสินค้าเกษตร-OTOP ยกระดับสร้างรายได้

23 ก.พ. 2566 | 09:03 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.พ. 2566 | 09:03 น.

มหาดไทยรุกแพลตฟอร์มสินค้าเกษตร-OTOP ยกระดับสร้างรายได้ เดินหน้าผนึกกำลังพันธมิตรขยายตลาดด้วยการเข้าถึงฐานข้อมูล ชูการตลาดนำการผลิตเชื่อแก้ปัญหาได้รอบด้าน

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยองค์การตลาด กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์เทศนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท ดารัวินเทค โซลลูชันส์ (ประเทศไทย) จำกัด พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับสินค้าเกษตรและสินค้า OTOP เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรของไทย

ทั้งนี้ แพลตฟอร์มดังกล่าวจะเป็นตัวกลางในการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคช่วยกำหนดทิศทางให้มีความสมดุล โดยเบื้องต้นจะเน้นด้านการเกษตรอย่างเดียวก่อน ความสมดุลการผลิตและการบริโภค หรือความต้องการซื้อ ความต้องการขาย เนื่องจากในอดีตอาจจะต่างคนต่างทำ 

อย่างไรก็ดี แพลตฟอร์มดังกล่าวนี้อจะเป็นองค์รวมด้านข้อมูล และราคาที่เป็นธรรม ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่ไม่เรียกหาประโยชน์เพราะเป็นหน่วยงานภาครัฐ โดยในช่วงแรกจะเริ่มต้นที่ภาคการเกษตรและการกระจายสินค้าสินค้าภายในประเทศตามเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย ระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ดูแลอยู่ โดยไม่มีการลงทุนใดเพิ่ม จะเป็นพื้นที่รอบด้านให้เกษตรกรได้นำมาเป็นประโยชน์ในการผลิตและขายสินค้าเพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย

ด้านองค์การตลาด จะส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าชุมชน สินค้าโอทอป ผลผลิตทางการเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ประชาชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร สถาบันการเกษตร สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเปราะบาง ด้วยฐานข้อมูลทางการเกษตร และฐานข้อมูลการตลาดจากความต้องการซื้อชายสินค้าเกษตร

นายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร รองประธานกรรมการองค์การตลาด (อต.) กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ด้วยอต.เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามกลุ่มเป้าหมาย SDGs เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเปราะบาง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการรายย่อยมีรากฐานการดำรงชีวิตและพัฒนาสู่อนาคตได้อย่างมั่นคง 

มหาดไทยรุกแพลตฟอร์มสินค้าเกษตร-OTOP ยกระดับสร้างรายได้

จึงเป็นที่มาของแนวทางความร่วมมีอร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงาน ในการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับสินค้าเกษตรและสินค้า OTOP เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจำหน่ายสินค้า การกระจายสินค้าเกษตร เพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ โดยระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงข้อมูลความต้องการผลผลิตจากโรงเรียน และชัอมูลผลผลิตทางการเกษตร/เกษตรกร พร้อมด้วยระบบ Logstics ในการติดตามสินค้า 

ซึ่งจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการซื้อชายในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสจำหน่ายผลผลิตในราคายุติธรรม ช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ สินค้าล้นตลาด และมุ่งพัฒนาตลาดขององค์การตลาดให้เป็น Marketing and Tracing ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และพันธมิตรเครือข่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ให้เป็นคนดี คนเก่ง ประกอบอาชีพสุจริต สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
 

นอกจากนี้ อต.ได้ร่วมมือกับ เนคเทค ในโครงการ Thai School lunch หรือระบบแนะนำสำรับอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ ที่ช่วยให้โรงเรียนสามารถจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายและวัตถุดิบล่วงหน้า ซึ่งระบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ระบบ KidDiary ที่ครอบครัวสามารถเข้าถึงข้อมูลภาวะทางโภชนาการ และพัฒนาการของเด็กเชื่อมโยงร่วมกับระบบ Farm to School เพื่อจับคู่ความต้องการสินค้าทางการเกษตรของโรงเรียนกับเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ และกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับที่ได้มาตรฐานเพื่อบริหารจัดการผลผลิต สำหรับ  Thai School Lunch ซึ่งโรงเรียนสามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบได้ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ แต่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน 

อย่างไรก็ดี แพลตฟอร์มรวบรวมเมนูอาหารเพื่อให้โรงเรียนต่างๆ ใช้ประกอบการจัดทำเมนูอาหารกลางวันให้กับเด็กมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 มีเมนูอาหารให้เลือกมากกว่า 1,000 เมนู ให้แต่ละโรงเรียนนำไปใช้ในการจัดเตรียมอาหารกลางวันให้กับเด็กภายใต้ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ แต่ยังทำให้เด็กได้สารอาหารที่เพียงพอ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าว มีโรงเรียนในสังกัด สพฐ. อปท. และ กทม. ไปจนถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศจำนวนมาก ตัวเลขปี 2565 อยู่ที่จำนวนกว่า 57,000 โรงเรียน

ดร.ชัย วุฒิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวว่า  เนคเทค สวทช. ได้ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพการบริการดิจิทัลของหน่วยงานพันธมิตร ด้วยการต่อยอดนวัตกรรมพร้อมใช้ 3 ผลงาน จากแพลตฟอร์มสำหรับโรงเรียน สู่การพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มสำหรับสินค้าเกษตรและสินค้า OTOP รวมถึงการเชื่อมโยงร่วมกับระบบ Farm to School เพื่อจับคู่ความต้องการสินค้าทางการเกษตรของโรงเรียนกับเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ 

และกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับที่ได้มาตรฐานเพื่อบริหารจัดการผลผลิต โดยร่วมขับเคลื่อน 2 กลไก คือ 

  • การวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเพื่อติดตามและส่งเสริมการมีสุขภาพดีของคนไทยด้วยการใช้ข้อมูลและนวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล โดย ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA) กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) 
  • การพัฒนาให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มสู่การใช้ประโยชน์ต่อสาธารณะ โดย บริษัท ดาร์วินเทค โซลูชันส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็น NECTEC Start up ล่าสุด ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง AI และ Big Data Analytics ในการดูแลสุขภาพของคนไทย

นายพงษ์ศักดิ์ ติยานันทิ  กรรมการบริษัท ดาร์วินเทค โซลูซันส์ (ประเทศโทย) กล่าวว่า การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับสินค้าเกษตรและสินค้า OTOP ดังกล่าว จะมุ่งใน 2 ส่วน ประกอบด้วย 

  • การเชื่อมโยงข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลความต้องการของลูกค้า 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มโรงเรียนที่ต้องการวัตถุดิบเพื่อตอบโจทย์อาหารกลางวันในโรงเรียน, กลุ่มลูกค้าเดิมขององค์การตลาด เช่น กรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาล กลุ่มลูกค้าทั่วไป การลงทะเบียนกษตรกร ผู้ประกอบการ และเจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่เป็นคู่ค้าขององค์การตลาด (อต.) และกรมการพัฒนาชุมชน (พช.)  
  • Platform พร้อมจ่าย ได้แก่ ฝั่งผู้ซื้อ : จะเป็นรูปแบบเว็บไซต์ และ รูปแบบ Mobile Applcation สำหรับสั่งซื้อสินค้า รองรับการเชื่อมโยงบัญชี
  • ผู้ใช้งานบุคคลทั่วไป และลูกค้าหน่วยงาน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ผู้ประกอบการรับจัดอาหาร