ปัญหา “ความยากจน” ของประเทศไทย นับเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หลายรัฐบาลพยายามหาทางแก้ไขด้วยการใช้กลไกความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีทั้งเครื่องมือ และอำนาจในการเข้าไปบริหารจัดการ โดยมีเป้าหมายให้จำนวนคนคนของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และประชาชนทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับนานาประเทศ
ปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดการแก้ไขปัญหาความยากจนเอาไว้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนไว้อย่างชัดเจน ล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานความคืบหน้าเรื่องนี้ให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
รัฐล็อคเป้าแก้ปัญหาคนจน 4 กลุ่ม
สำหรับความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในปีงบประมาณ 2566 มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ 4 กลุ่ม ดังนี้
ทั้งนี้จะต้องดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมเพื่อนำผู้ที่ตกหล่นเข้าระบบต่อไป ซึ่งคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบการดำเนินการและมอบหมายให้ ศจพ. ทุกระดับและทีมปฏิบัติการในพื้นที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวต่อไป
ตามติดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ขณะเดียวกันยังมีเรื่องความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ล่าสุด สศช. รายงานว่า มีการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thaland's SDG Roadmap) ประกอบด้วย
ทั้งนี้ในส่วนยุทธศาสตร์ชาติได้มีการเชื่อมโยงเป้าหมายแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บทฯ เข้ากับเป้าหมายย่อยของ SDGs เช่น เป้าหมายย่อยของแผนแม่บทฯ : ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับเป้าหมายย่อย SDGs : ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ