นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.ได้ดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม สู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart I.E.) เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ ด้วยการผลิตแรงงานอัจฉริยะ (Smart workforce) ให้มีทักษะฝีมือ (Skills Labor) อย่างเชี่ยวชาญ
รวมถึงการรับรองฝีมือแรงงานที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีระบบการจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการคุณภาพแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของนักลงทุนต่างประเทศ (FDI: Foreign Direct Investment) ผ่านการดำเนินการของสถาบัน กนอ. ซึ่งจัดตั้งโดย กนอ. ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร
ทั้งนี้ การสร้างกำลังคนในภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นโจทย์สำคัญของการพัฒนาเพื่อรองรับการลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งแรงงานที่มีทักษะฝีมือ (Skills Labor) ก็เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม ที่จะต้องได้รับการ Upskill ให้เท่าทันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน กนอ.คือ การยกระดับบุคลากรภาคอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างครบวงจร
สำหรับขอบเขตของการดำเนินงาน ประกอบด้วย
ส่วนโครงสร้างหลักสูตรจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
นายวีริศ กล่าวอีกว่า มีการนำร่องหลักสูตรแรกของสถาบัน กนอ. ด้วยหลักสูตรนักพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมืออาชีพสำหรับผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและผู้ที่สนใจลงทุนธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ กนอ. ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นรุ่นที่ 7
อย่างไรก็ดี ความพิเศษของครั้งนี้ คือ การเพิ่มองค์ความรู้ด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart I.E.) เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในระดับสากล
"การดำเนินงานดังกล่าว เพราะ กนอ. เล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาค (ASEAN Hub) โดยจะเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2566"