หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ได้มีมติขยายเวลาปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาล ระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชน และให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีเวลาปรับตัวเพื่อรองรับการปรับขึ้นอัตราภาษี โดยขยายออกไปอีก 6 เดือน ตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 สิ้นสุด 31 มี.ค. 66
1 เมษายน 2566 เป็นวันเริ่มต้นของการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาล หรือ ภาษีความหวาน ในอัตราก้าวหน้า โดยจะปรับขึ้นเป็นอัตราก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ 2 ปี ดังนี้
ภาษีความหวานคำนวณอย่างไร
วิธีคำนวณภาษีสรรพสามิต กฎหมายกำหนดให้เสียภาษีตามมูลค่า หรือตามปริมาณของสินค้า หรือทั้งตามมูลค่าและตามปริมาณของสินค้า (1) ภาษีตามมูลค่า (2) ภาษีตามปริมาณ
(1) ภาษีตามมูลค่า = อัตราภาษี x ฐานภาษี (ราคาขายปลีกแนะนำ)
(2) ภาษีตามปริมาณ = อัตราภาษี x ขนาดบรรจุ
วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ ภาษีความหวาน
การจัดเก็บภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลในสินค้าเครื่องดื่มนั้น กรมสรรพสามิตร มุ่งหวังให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาลเพื่อสุขภาพของประชาชน ให้สอดคล้องกับแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อขององค์การอนามัยโลก (WHO) และยังเป็นกลไกสำคัญในการวางรากฐานสังคม ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพ
ภาษีความหวาน เก็บจากใคร
ภาษีความหวาน จัดเก็บจากผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้นำเข้า สินค้าประเภทเครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องดื่มที่มีลักษณะเป็นผง เกร็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและสามารถละลายน้ำได้