รายงานสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ(ทูตพาณิชย์) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของอิสราเอลเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ตลอดจนเป็นผู้จัดหารายใหญ่ของกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล อิสราเอลเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกยุทโธปกรณ์ทางทหารรายใหญ่ของโลก
อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 งบใช้จ่ายทางการทหารของอิสราเอลลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2552 ประเทศที่มีงบประมาณกลาโหมที่มากที่สุดในโลก คือ สหรัฐอเมริกา 877 พันล้านดอลลาร์ ส่วนประเทศอิสราเอลนั้น ตกจากอันดับที่ 14 เป็น 15 ในการจัดอันดับงบประมาณกลาโหมที่มากที่สุดในโลก ตามรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research Institute : SIPRI)
ทั้งนี้รัฐอิสราเอลลงทุน 23,400 ล้านดอลลาร์ หรือ 1% ของมูลค่าการใช้จ่ายทั่วโลกในภาคการป้องกันประเทศในปี 2565 เป็นการลดลงครั้งแรกของการใช้จ่ายทางทหารในอิสราเอลนับตั้งแต่ปี 2552 อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่าการใช้จ่ายจริงในอิสราเอลไม่ตรงกับงบประมาณกลาโหมในปี 2565 และการลดลงดังกล่าวเกิดขึ้นแม้จะมีการโจมตีในซีเรีย เพิ่มขึ้น และความตึงเครียดกับชาวปาเลสไตน์เพิ่มมากขึ้น
โดยอิสราเอลอยู่ในอันดับที่ 10 ของโลกในด้านการใช้จ่ายทางทหารตามสัดส่วนของ GDP ที่ 4.%งบประมาณด้านกลาโหมที่มากที่สุดในโลกคือของสหรัฐฯ ด้วยเงิน 877,000 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 39% ของ ค่าใช้จ่ายทางทหารทั่วโลก SIPRI ประมาณการว่าสหรัฐฯ ได้ลงทุน 2.3% ของงบประมาณกลาโหมในปี 2565 หรือ 20,100 ล้านดอลลาร์
เพื่อช่วยเหลือยูเครนรัสเซีย มีงบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้นในปี 2565 จากอันดับ 5 เป็น 3 ของโลก เพิ่มการใช้จ่ายทางทหาร 9.2 %ในปีที่แล้ว อยู่ที่ 86.4 พันล้านดอลลาร์ ระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย จีนมีงบประมาณกลาโหมเพิ่มขึ้น 4.2% ในปี 2565 เป็น 292 พันล้านดอลลาร์ หรือ 13% ของการใช้จ่ายทางทหารทั่วโลก สหรัฐอเมริกาและจีนคิดเป็น 52% ของการใช้จ่ายทางทหารทั้งหมดของโลก
โดยอิสราเอลส่งออกยุทโธปกรณ์ทางทหาร คิดเป็น 10% ของทั้งหมดของโลกในปี 2550 บริษัทของอิสราเอล 3 ราย ได้แก่ Elbit Systems, Israel Aerospace Industries และ RAFAEL ได้รับการจดทะเบียนอยู่ในดัชนี SIPRI ประจำปี 2560 ของบริษัทที่ผลิตอาวุธและให้บริการทางทหารชั้นนำ 100 ราย ของโลก นอกจากนี้อิสราเอลยังเป็นผู้เล่นหลักในตลาดอาวุธทั่วโลกและเป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก ในปี 2557 ข้อตกลงการโอนอาวุธทั้งหมดสูงถึง 12.9 พันล้านดอลลาร์ระหว่างปี 2547 ถึง 2554 มีบริษัทด้านกลาโหมที่ดำเนินการอยู่มากกว่า 150 แห่ง ในประเทศนี้
โดยมีรายได้รวมกันมากกว่า 3.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปี การส่งออกยุทโธปกรณ์ของอิสราเอลมีมูลค่าถึง 7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2555 เพิ่มขึ้น20% เมื่อเทียบกับปี 2554 การส่งออกส่วนใหญ่ขายไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรป ภูมิภาคหลักอื่นๆ ที่ซื้อยุทโธปกรณ์ของอิสราเอล ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และละตินอเมริกา อินเดียยังเป็นประเทศหลักสำหรับการส่งออกอาวุธของอิสราเอล และยังคงเป็นตลาดค้าอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลกของอิสราเอล
ทั้งนี้ทูตพาณิชย์ประจำ ณ กรุงเทลอาวีฟ มองว่าอิสราเอลจำเป็นต้องลงทุนด้านการทหารอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูงเพื่อป้องกันประเทศท่ามกลางความขัดแย้งอย่างยาวนานในภูมิภาคตะวันออกกลางเพื่อความมั่นคงของประเทศและเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของประชาชนให้เป็นได้ด้วยดีมีคุณภาพชีวิตโดยอิสราเอลได้รับการยอมรับว่าประเทศที่ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีด้านต่างๆและเศรษฐกิจที่เติบโตในอัตราสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว