ซีอีโอ “อโกด้า” เชื่อกรุงเทพกำลังจะเป็น “ซิลิคอนวัลเลย์แห่งเอเชีย"

13 พ.ค. 2566 | 12:18 น.
อัพเดตล่าสุด :13 พ.ค. 2566 | 14:04 น.

ซีอีโอ “อโกด้า” เชื่อ “กรุงเทพ”คือ ปัจจัยที่ทำให้บริษัทเติบโต และประสบความสำเร็จ ตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เพราะ “แรงงานมีศักยภาพ-โครงสร้างพื้นฐานดี”

“ออมริ มอร์เกนช์เทิร์น”  ประธานเจ้าหน้าบริหาร “อโกด้า” เผยว่า หลังจากเห็นการเติบโตของ “อโกด้า” ที่ก่อตั้งมายาวนาน 15 ปี และมี ที่ทำการใหญ่อยู่ "ใจกลางกรุงเทพ" น่าคิดว่า กรุงเทพเองก็เป็นเมืองที่มีส่วนสนับสนุนความสำเร็จอันน่าทึ่งของอโกด้า”

อโกด้า คือ หนึ่งในแพลตฟอร์มจองที่พัก เที่ยวบินและอื่นๆ ที่ "ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดในโลก" ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบัน อโกด้ามีสำนักงานในกว่า 75 แห่งทั่วโลก 

ผู้ก่อตั้งดั้งเดิม คือ  “โรเบิร์ต  โรเซยสทีน” และ “ไมเคิล เคนนี” ได้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของบริษัทในกรุงเทพฯ โดยเดิมพันว่าการกรุงเทพ คือ ส่วนผสมที่ลงตัว ระหว่าง “ความสามารถของพนักงาน” ในประเทศ และ “ภูมิศาสตร์ที่ตั้ง” ที่จะช่วยให้พวกธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ  อย่างน้อยก็ในช่วงเริ่มต้นของบริษัท 

ปัจจุบันอโกด้ามี "พนักงานในประเทศไทย" ประมาณ 3,000 คน พร้อมด้วยวิศวกรและบุคลากรด้านผลิตภัณฑ์กว่า 1,500 คน ถือเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติการที่ "ใหญ่ที่สุด และยังคงเติบโตเร็วที่สุด"

เขายังเผยว่า สิ่งที่ทำให้อโกด้าแตกต่างจากบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ คือความมุ่งมั่นของเราที่จะเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี คำว่า "Silicon Valley in Bangkok" ไม่ใช่คำพูดล้าสมัย  นักพัฒนา นักสถิติข้อมูล และบุคลากรด้านผลิตภัณฑ์นั้น มาจากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงบริษัทที่ใหญ่ เช่น Google, Meta และแม้แต่ Open AI นอกจากนี้ การอยู่ไกลจากศูนย์กลางเทคโนโลยีหลักของซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก เทลอาวีฟ ลอนดอน และเบอร์ลิน ทำให้เกิดความรู้สึก FOMO (ความกลัวที่จะพลาด) ซึ่งผลักดันให้บริษัทเหล่านี้ต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ซีอีโอ “อโกด้า” ให้เหตุผลที่กรุงเทพกำลังจะเป็น “Silicon Valley”  ดังนี้

1.คนไทยเก่ง

เมืองไทยผลิตบัณฑิตที่ฉลาด กระตือรือร้นและกระหายในการสร้างผลงาน ด้วยทัศนคติแบบ 'go-getter' ที่เป็นสิ่งที่องค์กรให้คุณค่า เมื่อมารวมกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์จากทั่วโลก ทำให้เป็นทีมงานที่พร้อมเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพได้เร็ว

2. ไทยเป็นแหล่งรวมแรงงานทักษะสูงจากทั่วโลก

ทำให้องค์กรต่างๆได้เรียนรู้แนวคิด ระดมความรู้ และข้อมูลจากทั้งตลาดตะวันตกและตะวันออก ความหลากหลายนี้ นำไปสู่การบูรณาการความรู้ร่วมกัน และผลลัพธ์การทำงานของบริษัทที่ดียิ่งขึ้น

3. ระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่ดี

องค์กรและหน่วยงานภาครัฐ พร้อมผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สมบูรณ์ สร้างแรงจูงใจ ดึงดูดแรงงานที่มีศักยภาพจากทั่วโลกมาทำงาน ทั้งยังส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะจำเป็น เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในประเทศ

เขายังเสริมว่า "ประเทศไทยสามารถ "ดึงดูดเม็ดเงินมหาศาล"  เพื่อลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ดิจิทัล 4.0 และชุมชนสตาร์ทอัพที่มีการเติบโตสูง เงื่อนไขนี้จึงเหมาะสมที่สุดในการสร้างกลุ่มบริษัทด้านนวัตกรรม และเพิ่มจำนวนการลงทุนด้าน R&D  จากนักลงทุนต่างชาติ"

เขายังทิ้งท้ายว่า “ผมเชื่อจริงๆ ว่ากรุงเทพ อาจได้รับการกล่าวถึง ว่าอยู่ในระดับเดียวกับ ซานฟรานซิสโก เทลอาวีฟ และเซี่ยงไฮ้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แทบรอไม่ไหวที่จะเห็นอนาคตของกรุงเทพว่าจะเป็นอย่างไร”

 

ที่มา linkedin