นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเศรษฐไทยว่า IMF ได้ประเมินเศรษฐกิจโลก ปี 66 ว่าโต 2.8% และยังประเมินเศรษฐกิจสหรัฐโต 1.6% ลดจาก ปี 2565 โต 2.1% จากภาวะเงินเฟ้อ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพดานหนี้เช่นเดียวกับเศรษฐกิจยุโรป โต 0.8% ปี 65 โต 3.5% จากภาวะเงินเฟ้อ – ต้นทุนพลังงาน – ราคาอาหาร
ในขณะที่เศรษฐกิจเอเชียจะเริ่มฟื้นตัว โดยIMFประเมิน โต 5.3% ขยายตัวจาก ปี 2565 ที่โต 4.4% เศรษฐกิจจีน โต 5.2% ขยายตัวจากปี 65 ที่โต3% อินเดีย ปี 66 โต 5.9% ลดลงจากปี 65 ที่โต 6.7%
อย่างไรก็ตามยังคงมีสัญญาณความเสี่ยงของการชะลอตัวลงเช่นความกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ และ สงครามระหว่างประเทศ ระดับราคาพลังงาน และอัตราแลกเปลี่ยน ราคาพลังงานที่ยังแปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขณะที่สัญญาณบวกมีเพียงการกลับมาเริ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหลายประเทศเท่านั้น
ทั้งนี้ นายสนั่นมองว่า เศรษฐกิจไทย Q1/66 โต 2.7% โดยเฉพาะสินค้าเกษตรมีทิศทางราคาที่ดีขึ้น เช่นข้าวเปลือกเจ้า 9.8พันบาท/ตัน จาก 8-9 พันบาท/ตันมันสำปะหลัง 2.7-3.2 บาท/กก. จาก 1.9-2.7 บาท/กก.ข้าวโพดสัตว์เลี้ยง 10.7-11.2 บาท/กก จาก 7.7-11.5 บาท/กกและข้าวเปลือกหอมมะลิ 13,300 บาท/ตัน จาก 9.8-12.5 พันบาท/ตัน แต่ที่ต้องเฝ้าระวังคือไทยจะเข้าสู่ สภาวะเอลนีโญ ส่งผลกระทบต่อ ภาคเกษตร อาจมีผลกระทบประมาณ 10,000-30,000ล้านบาท
ด้านการส่งออกไทย Q1/66 ยังคงติดลบ4.6% ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกยังคงติดลบเช่นกันเช่น เวียดนาม -11.7% ฟิลิปปินส์ -13.2% ไต้หวัน -19.2% มีเพียงอินโดนีเซีย +1.6% จีน +0.1%ที่ส่งออกไตรมาสแรกเป็นบวก ทั้งนี้คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยในช่วง5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.)ประมาณ 10.4 ล้านคน โดยคาดว่าทั้งนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา 28-30ล้านคน
ทั้งนี้กกร.ประเมินเศรษฐกิจไทย ปี 66 โต 3.0-3.5% ค่าพลังงานยังทรงตัวอยู่ในดับที่สูงปัจจุบันราคาพลังงานอย่ที่ระดับ70-75ดอลลาร์ต่อบาเรล แต่คนไทยมีหนี้ครัวเรือน 85.9% โดยในQ1/66 มีหนี้ครัวเรือนของไทยประมาณ 14.66 ล้านบาท
“หอการค้าเร่งดึงดูด FDI ให้เข้ามาลงทุนโดยเร็วที่สุดพร้อมทั้งเตรียมจับมือ BOI Roadshow เชิงรุก เชิญชวน จีน – ซาอุดิอาระเบีย – อินเดีย ลงทุนไทยเพิ่ม พร้อมทั้งเร่งทำ FTA กับนานาชาติ ไทยมี FTA กับ 19 ประเทศ (15 ฉบับ) ได้แก่อาเซียน ญึ่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี ฮ่องกง สหรัฐอสหรับเอมิเรตส์ และยังเร่งเครื่องเจรจา FTA ไทย-อียู (27 ประเทศ ปัจจุบันเป็นคู่ค้าอันดับ 5 ของไทย)”
ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ต้องมีความราบรื่นและรวดเร็วที่สุดเร่งจัดทำและเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อฟื้นเศรษฐกิจและทุกฝ่ายต้องยอมรับผลเลือกั้งไม่สร้างความขัดแย้ง ส่วนเศรษฐกิจไทยหลังเลือกตั้งนั้น ภาคเอกชนมองว่า การลดต้นทุนในภาคธุรกิจ และลดค่าใช้จ่ายของ ประชาชน ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ เร่งตั้งกรอ.พลังงาน (รัฐ - เอกชน - ประชาชน)และฟื้นฟูSME / Startup ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสินเชื่อรวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก อย่างไรก็ตามหอการค้าฯ แนะนโยบายเร่งด่วน เช่น Ease of Doing Business และ Ease of Investment BCG - Sustainable ทำต่อเนื่อง และเรื่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี