ส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง เหตุตลาดคู่ค้าไทยติดลบหนัก

31 พ.ค. 2566 | 02:50 น.
อัปเดตล่าสุด :31 พ.ค. 2566 | 03:02 น.

ส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง เหตุตลาดคู่ค้าไทยติดลบทั้ง สหรัฐลบ9.6% ญี่ปุ่นลบ8.1% ยุโรปติดลบ8.2% เหตุเศรษฐกิจในยังฟื้นไม่เต็มที่ ภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงิน และสต๊อกสินค้าของประเทศคู่ค้ายังมีอยู่ทำชะลอสั่งซื้อแต่มั่นใจดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวโน้มการส่งออกเดือนพฤษภาคมคาดว่า จะยังติดลบอยู่ เนื่องจากสต๊อกสินค้าของประเทศคู่ค้ายังมีอยู่ ทำให้ชะลอการสั่งซื้อสินค้า แต่จะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนปัจจัยที่กดดันการส่งออก ยังคงเป็นเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลง

ส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง เหตุตลาดคู่ค้าไทยติดลบหนัก

แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวดต่อไป และยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ปัญหาวิกฤตการเงินของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ และยุโรป และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ที่สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลก
โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญ ส่วนใหญ่กลับมาหดตัว
 

โดยตลาดหลัก-6.2%

  • ตลาดสหรัฐฯ -9.6%
  • ญี่ปุ่น -8.1%
  • อาเซียน (5 ประเทศ) -17.7%
  • CLMV -17%
  • สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) -8.2%
  • แต่ตลาดจีนกลับมาขยายตัว 23%

ส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง เหตุตลาดคู่ค้าไทยติดลบหนัก

ตลาดรอง  -14.9%

  • ตลาดเอเชียใต้ -25.9%
  • ตะวันออกกลาง -16.7%
  • แอฟริกา -26.9%
  • ลาตินอเมริกา -9.4%
  • แต่ขยายตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย +4.4%
  • ตลาดรัสเซียและกลุ่ม CIS +155.4%
  • สหราชอาณาจักร +49%
  • ตลาดอื่น ๆ +72.2% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ +77.9%

ส่งออกไทยทรุดต่อเนื่อง เหตุตลาดคู่ค้าไทยติดลบหนัก

แต่ทั้งนี้การฟื้นตัวของตลาดจีนที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณบวกต่อการส่งออกไทย ขณะที่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นในหลายประเทศที่ประสบปัญหาภัยแล้งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในปีนี้ และกระทรวงพาณิชย์ยังเป้าการส่งออกทั้งปีไว้ที่ขยายตัว 1-2%

สำหรับการส่งออกเดือนไทยตั้งแต่ม.ค.-เม.ย. นับตั้งแต่เดือน ต.ค.2565 ที่ลดลง 4.4% พ.ย.2565 ลด 6% ธ.ค.2565 ลด 14.6% ม.ค.2566 ลด 4.5% ก.พ.2566 ลด 4.7% มี.ค.ลด 4.2%เม.ย.2566 ที่ลดลง 7.6% เป็นการส่งออกติดลบต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน