วันนี้ (14 มิถุนายน 2566) พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ผบช.สตม.) แถลงข่าวผลการดำเนินการ ของสตม. โดยเฉพาะการเปิดปฏิบัติการยุทธการกวาดล้างมังกรซ่อนกาย ครั้งที่ 2 หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ สตม.พิจารณาดำเนินการกรณีเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย แจ้งข้อมูลผู้ต้องหาตามหมายจับของสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 9 ราย ซึ่งได้หลบหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
สำหรับผลการปฏิบัติได้ทำการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับของสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 9 ราย ดังนี้
1. ข้อหาฉ้อโกง จำนวน 3 ราย ได้แก่
ทั้ง 3 คน มีพฤติการณ์กระทำผิดคือ ได้ร่วมกันกับพวกพัฒนาเว็บไซต์เอซีอี เพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์หุ้น "ACE King" โดยอ้างว่าเป็นหุ้นที่ความเสี่ยงต่ำและผลตอบแทนสูง และดึงดูดสมาชิกให้เข้าร่วมลงทุน
รวมทั้ง ทำโปรโมชั่นต่าง ๆ จนมีสมาชิกกว่า 250,000 บัญชี จนมีผู้หลงเชื่อเข้าร่วมลงทุนซื้อหุ้น "ACE King" ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมาก สร้างความเสียหายมูลค่ารวม 2.3 พันล้านหยวน (ประมาณ 11,500 ล้านบาท)
2. ข้อหาฉ้อโกงสัญญา จำนวน 2 คน ได้แก่
ทั้ง 2 คน มีพฤติการณ์กระทำผิดคือ ในระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2565 ผู้ต้องหาทั้ง 2 ได้ใช้บริษัทแห่งหนึ่ง หลอกลวงผู้เสียหายให้ทำสัญญาซื้อขายเหล้า Maotai โดยผู้เสียหายได้จ่ายเงินซื้อเหล้า Maotai เป็นจำนวนเงิน 6.75 ล้านหยวน (ประมาณ 33.7 ล้านบาท) ตามที่ตกลงไว้ในสัญญา แต่ผู้ต้องหาไม่มีเหล้า Maotai และไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้กับผู้เสียหาย
3. ข้อหาฟอกเงิน จำนวน 2 คน ได้แก่
4. ข้อหาใช้อำนาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว จำนวน 1 คน ได้แก่
นายต้าลิน (นามสมมติ) อายุ 42 ปี สัญชาติจีน ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร พฤติการณ์กระทำผิด คือ ตั้งแต่ปี 2564 - 2565 นายต้าลิน ได้ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งของเขา ในฐานะหัวหน้าฝ่ายจัดซื้อและการตลาดของร้านขายของชำใน Carrefour (China) Management Co., LTD. ฉ้อโกงทรัพย์สินของบริษัทกว่า 15 ล้านหยวน (ประมาณ 75 ล้านบาท)
5. ข้อหาดำเนินธุรกิจผิดกฎหมาย จำนวน 1 คน ได้แก่
นายจงเหว่ย (นามสมมติ) อายุ 35 ปี สัญชาติจีน ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร พฤติการณ์กระทำผิด คือ นายจงเหว่ยสมรู้ร่วมคิดกับผู้อื่นเพื่อแสวงหากำไรที่ผิดกฎหมายและโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐ
โดยได้พัฒนาและสร้างแพลตฟอร์มการชำระเงิน Oneda Pay เพื่อให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 280 ล้านหยวน (ประมาณ 1,400 ล้านบาท)
จากนั้น ได้นำตัวคนต่างด้าวที่ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราอาณาจักร จำนวน 7 ราย ส่ง กก.3 บก.สส.สตม. เพื่อรอผลักดันส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรไทย ส่วนคนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด (OVERSTAY) ได้นำตัวส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป