ระวังอาหารไม่พอกิน “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ปลุกโลกตื่นความมั่นคงทางอาหาร

25 มิ.ย. 2566 | 08:26 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มิ.ย. 2566 | 08:37 น.

“สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ปลุกโลกตื่นความมั่นคงทางอาหาร  เอกชนไทยชี้ ไทยยังได้เปรียบเหตุทั้งวัตถุดิบ ต้นทุน อีกทั้งยังเป็นประเทศเกษตรกรรรม แต่”เอลนีโญ” ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม อาจส่งผลต่อปริมาณวัตถุดิบราคาสินค้า

ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) เป็นสิ่งที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญเนื่องจากในปี2022 มีหลายปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้ เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต้องตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือความมั่นคงทางอาหาร เริ่มมีกระแสอีกครั้งในช่วงการเรื่องของความขัดแย้งรัสเซีย ยูเครน  ที่กลับมาระอุอีกครั้งซึ่งรอบนี้สร้างความตื่นตระหนักให้กับทั่วทั้งโลกอีกครั้ง เพราะอาจจะส่งผลกระทบทั้งการค้าการลงทุน  วัตถุดิบ การขนส่ง เพราะรัสเซียถือว่าเป็นประเทศส่งออกเกี่ยวกับวัตถุดิบด้านอาหารด้วยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ข้าวสาลี เป็นต้น

ระวังอาหารไม่พอกิน “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ปลุกโลกตื่นความมั่นคงทางอาหาร

ดังนั้นหลายประเทศเองเริ่มกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหารว่าจะเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศหรือไม่   ประเทศไทยมีการวิจัยพบว่าไทยมีจุดแข็งในด้านความมั่นคงทางอาหารในปัจจัยในด้านการเข้าถึงอาหารและอุปทาน การผลิตมีความยืดหยุ่น และประเทศไทยมีความปลอดภัยทางอาหารสูง ในด้านจุดอ่อนที่ไทยยังต้องพัฒนาคือ ไทยยังต้อง สนับสนุนขยายการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นแหล่งอาหารในระยะยาว

ระวังอาหารไม่พอกิน “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ปลุกโลกตื่นความมั่นคงทางอาหาร

โดยที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายและมาตรการด้านความมั่นคง ทางอาหาร ที่ส่งเสริมการเกษตรทยั่งยืน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการทำฐานข้อมูล Big Dataและส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของโภชนาการอาหารซึ่งสอดคล้องและเป็นประเด็นอุปสรรคที่อุตสาหกรรมอาหาร ไทยต้องพัฒนาและยกระดับปัจจุบันไทยมีความมั่นคงทางอาหารสูงเนื่องด้วยอุตสาหกรรมไทยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจของคนไทย เมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจโลก จึงไม่ต้องกังวลเรื่องคำสั่งรัฐของประเทศผู้มาลงทุนให้ถอนทุนกลับประเทศ

ระวังอาหารไม่พอกิน “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ปลุกโลกตื่นความมั่นคงทางอาหาร

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทยและประธานคณะกรรมยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทย เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ”ว่าประเทศไทยผลิตอาหาร(ตัวเลขเฉลี่ย5ปีล่าสดุ 2558-2562)ในอาหารหลักและอาหารสำคัญที่คนไทยบริโภคกันเยอะ จากข้อมูลอัตราการพึ่งพาตนเอง (SSR) ของประเทศไทย จัดทำโดยสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์   พบว่า ข้าว ผลิตได้ 22.31 ล้านตัน

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทยและประธานคณะกรรมยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทย

บริโภคในประเทศ 11.67 ล้านตัน   ไข่ไก่ ผลิตได้ 14,117.80 ล้านฟอง บริโภคในประเทศ 13,930 ล้านฟอง   ไก่เนื้อ ผลิตได้ 1.69 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 1.23 ล้านตัน สุกร ผลติ ได้ 1.44 ล้านตัน บริโภคในประเทศ 1.27 ล้านตัน และ กุ้งเพาะเลี้ยง ผลิตได้ 0.33 ล้านตนั บริโภคในประเทศ 0.04 ล้านตัน

ระวังอาหารไม่พอกิน “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ปลุกโลกตื่นความมั่นคงทางอาหาร

อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารที่ต้องติดตามและแก้ไข    สินค้าอาหารบางรายการไทยยังมีการนำเข้ามา เช่น สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์  สำหรับการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นม กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ขนมหวานและช็อกโกแลต   ราคาและการเข้าถึงสินค้าปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อด้านต้นทุนของการผลิตสินค้าทั้งด้านราคาวัตถุดิบ รวมถึงราคาพลังงาน ไฟฟ้า และอัตราค่าจ้างแรงงาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้า

ระวังอาหารไม่พอกิน “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ปลุกโลกตื่นความมั่นคงทางอาหาร

ส่วนปัญหาด้านภัยธรรมชาติ เอลนีโญ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม และเป็นจุดที่ทำให้นานาประเทศเริ่ม กลับมาให้ความสนใจในความมั่นคงทางอาหารเพราะเอลนีโญอาจส่งผลต่อปริมาณวัตถุดิบราคาสินค้า

ทั้งนี้การประเมินระดับ “ความมั่นคงทางอาหาร” โดยแต่ละหน่วยงานมีปัจจัยและเกณฑ์ในการประเมินที่ต่างกันใน ระดับสากลมี Global Food Security Index จัดทาโดย The Economist Intelligence Unit การรายงานของ Global Report on Food Crises ประจาปี 2022 ซึ่งระบุว่า ปี 2022 ไทยมความมั่นคงทางอาหารตดิ อันดับ 64 ตามรายงาน ดัชนี ความมั่นคงทางอาหาร 2022 Global Food Security Index : GFSI 2022 แยกตามองค์ประกอบหลักคือ  ความสามารถในการเข้าถึงอาหาร Affordability ซึ่งไทยอยู่อันดับที่ 39    ความพร้อมอาหารเพียงพอ Availability ไทยอยู่อันดับที่ 77  คุณภาพและความปลอดภัย Quality andsafety ไทยอยู่อันดับที่ 102 และความยั่งยืนและการปรับตัว Sustainability and Adaptation  ไทยอยู่อันดับที่ 69