นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. นอกจากนี้ สศอ. ได้จัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องมือแพทย์ในอาเซียน ภายในปี 2570 ซึ่งมีการดำเนินงานผ่านมาตรการหลัก 4 ด้าน ได้แก่
ทั้งนี้ สศอ. อยู่ระหว่างดำเนินการรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม รวมถึงขอความอนุเคราะห์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอโครงการสำคัญเพื่อใช้กำหนดเป็นกรอบวงเงินงบประมาณ แผนการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และจะได้ดำเนินการรวบรวมนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ต่อไป
สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ สศอ. ดำเนินการขับเคลื่อน ได้แก่ แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน
โดยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี 2570 ประกอบด้วย 5 กลุ่มเป้าหมาย คือ Smart Home, Smart Factory, Smart Hospital & Health, Smart Farm และรถ EV โดยความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ประเทศไทยมีฐานการผลิต การสนับสนุนการวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างผู้ประกอบการ Startup และพัฒนาบุคลากรด้าน Smart Electronics ผ่านกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund)
สำหรับประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การพัฒนาบุคลากรด้านอิเล็กทรอนิกส์ทั้งวิศวกร และช่างเทคนิค และการพัฒนา Ecosystem ยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบสำหรับ Smart Electronics รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีความมั่นคงในด้านวัตถุดิบและเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมในภาพรวม
ด้านมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิตและการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียนโดยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ภายในปี 2569 ผลการดำเนินงานตามมาตรการทางด้านการตลาดพบว่า ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560-2566) มีความคืบหน้าในการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ มีผู้ประกอบการ 271 กิจการ ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมูลค่ารวม 27,710 ล้านบาท
ขณะที่ กิจการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติที่มีการออกแบบทางวิศวกรรม มีขั้นตอนการพัฒนาและออกแบบระบบอัตโนมัติ (Automation System Integration) รวมถึงมีขั้นตอนการออกแบบระบบควบคุมการปฏิบัติงานด้วยระบบสมองกล มีมูลค่าการขอรับการส่งเสริม 2,570 ล้านบาท โดยมีประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการส่งเสริมเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม คือ การส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตไปใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ การพัฒนาบุคลากรด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ด้าน System Integrator (SI) ตลอดจนบุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องมีการดำเนินการร่วมกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ให้มีขีดความสามารถเพียงพอรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทยปี พ.ศ. 2561-2570 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนมาตรการฯ ระยะครึ่งแผน เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Bio Hub of ASEAN ภายในปี พ.ศ. 2570 โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ รวมถึงการสร้าง Ecosystem เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพของประเทศไทย อาทิ การปรับปรุงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการให้ตั้งโรงงานที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2562 ทำให้สามารถตั้งโรงงานที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบภายในระยะ 50 กิโลเมตร แยกประเภทอุตสาหกรรมชีวภาพออกจากอุตสาหกรรมเคมี ตาม พ.ร.บ.โรงงาน การสร้างศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Intelligence Unit) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย
ส่งผลให้ปัจจุบันคาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพภายใต้มาตรการฯ 153,340 ล้านบาท โดยคิดเป็น 80.17% ของตัวชี้วัดการลงทุนที่ตั้งเป้าไว้ที่ 190,000ล้านบาท โดยประเด็นที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ คือ การจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น One Stop Service ของอุตสาหกรรมชีวภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ประกอบการและนักลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างครบวงจร
นอกจากนี้ สศอ. ในฐานะเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลที่ใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ ข้อมูลสถานการณ์อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ข้อมูลการผลิตและการบริโภค ข้อมูลนำเข้า-ส่งออก ข้อมูลจำนวนโรงงาน ข้อมูลแรงงาน
รวมถึงข้อมูลเชิงลึกด้านขีดความสามารถในการแข่งขันและช่องว่างในการพัฒนาของอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ข้อมูลภาพรวมห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรม ข้อมูลสถานการณ์การพัฒนาของอุตสาหกรรม ข้อมูลศักยภาพผู้ประกอบการ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็น Key Success Factor ที่จะช่วยให้การกำหนดทิศทาง การพัฒนา การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนา
การจัดทำแผนงานโครงการและการออกมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และขับเคลื่อนการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการขยายตัวของ GDP ภาคอุตสาหกรรมที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี (ในช่วงปี พ.ศ. 2566-2570) ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ
หลังจากนี้ สศอ. จะรวบรวมข้อคิดเห็นที่ได้จากการติดตามผลการดำเนินงาน การทบทวนแผนปฏิบัติการและมาตรการ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งประเมิน วิเคราะห์อุตสาหกรรมแห่งอนาคตตามเทรนด์ของโลก เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนวทางในการทบทวนแผนปฏิบัติการและมาตรการเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อนำเสนอต่อ ครม. ต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2566
นางวรวรรณ กล่าวอรกว่า สศอ. ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการและมาตรการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมถึงแผนปฏิบัติการที่อยู่ระหว่างการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมเสนอให้ ครม. พิจารณา พร้อมทั้งทบทวนแผนปฏิบัติการและมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ได้ประกาศใช้แล้ว เพื่อปรับแนวทางและมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ นำมาสู่การปรับปรุงประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่มีนัยสำคัญต่อการพัฒนา เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ให้เกิดการขยายตัวของ GDP ภาคอุตสาหกรรมตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และทำให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดการเติบโตได้อย่างยั่งยืน