ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

11 ก.ย. 2566 | 19:40 น.

สนค. เผยทั่วโลกตื่นตัวผลิตภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืน แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัว คาดผลดีต่อส่งออกอาหารไทย  ล่าสุดอียูจัดทำข้อเสนอกรอบโครงสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน ชี้ภาครัฐควรส่งเสริมงานวิจัยเร่งพัฒนาเทคโนโลยี  

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้บริโภคให้ความสนใจข้อมูลเกี่ยวกับความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์อาหารมากขึ้น ซึ่งการทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ31% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมนุษย์ทั้งหมด ทำให้ฉลากอาหารถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการปรับปรุงความยั่งยืนของระบบเกษตรและอาหาร และเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลว่าผู้ผลิตและเกษตรกรมีการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 

ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

 ปัจจุบันมีข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์การแสดงฉลากที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนที่หลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละสินค้าและกลุ่มประเทศ จากข้อมูลของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหารของ FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission) ระบุว่า ฉลากที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนที่ได้รับแจ้งจากสมาชิก Codex (มี 189 สมาชิก ประกอบด้วย 188 ประเทศ และสหภาพยุโรป) มีจำนวน 208 ฉลาก โดยสามารถแบ่งฉลากอาหารที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่  ฉลากที่ออกโดยรัฐบาลหรือฉลากสาธารณะ มีจำนวน 24 ฉลากเช่น Indonesian Ecolabel logo และ AsureQuality Organic mark  ฉลากของภาคเอกชน มีจำนวน 173 ฉลากเช่น Carbon Trust และ Red Tractor

ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

 ฉลากร่วมของภาครัฐและเอกชน มีจำนวน 4 ฉลาก เช่น Enviroscore และ Alaska Responsible Fisheries Management และ (4) ฉลากอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ใน 3 กลุ่มแรก มีจำนวน 7 ฉลาก เช่น Sustain 2007 ทั้งนี้ หากแบ่งตามวัตถุประสงค์ จะเป็นฉลากที่มีวัตถุประสงค์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental & Social) รวมกันมากที่สุด มีสัดส่วน 44% จากจำนวนฉลากทั้งหมด

ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

รองลงมา คือ ฉลากที่มีวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Only) และฉลากที่มีวัตถุประสงค์ด้านสังคม (Social Only) มีสัดส่วน 32% และ 24% ตามลำดับ

 สหภาพยุโรป (EU) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินนโยบายการปฏิรูปสีเขียว (European Green Deal) มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และในส่วนของอุตสาหกรรมอาหาร มียุทธศาสตร์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Fork Strategy) โดยใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปอยู่ระหว่างจัดทำข้อเสนอกรอบโครงสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน (Framework for Sustainable Food Systems: FSFS) คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่สามของปี 2566 โดยข้อเสนอดังกล่าว หมายรวมถึงระบบการติดฉลากอาหารที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกอาหารจากไทยไป EU ในอนาคตได้

ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

 สำหรับข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรจากไทยไปยังสหภาพยุโรป ในปี 2565 ไทยส่งออก มูลค่า 104,487.30 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวถึง 25% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมีสัดส่วน 6% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมดของไทย  สินค้าส่งออกสำคัญจากไทยไป EU อาทิ ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ และผลไม้กระป๋องและแปรรูป

ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

 อย่างไรก็ตาม ในส่วนของข้อมูลการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป ในปี 2564 พบว่า EU มีการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์จากประเทศไทยเป็นปริมาณ 20,077 เมตริกตัน ลดลง32.4% จากปีก่อนหน้า และคิดเป็น0.7% ของปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดของสหภาพยุโรป โดยแหล่งนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญของสหภาพยุโรป 5 อันดับแรก ได้แก่ เอกวาดอร์ 12 9% โดมินิกัน 2 7% อินเดีย2 7% เปรู1% และยูเครน6.6% (ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ อันดับที่ 30 ของสหภาพยุโรป)

ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

โดยสหภาพยุโรปเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ และมีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดมาตรการด้านความยั่งยืนด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยยังมีโอกาสอีกมากในการพัฒนาและยกระดับสู่อุตสาหกรรมอาหารที่ยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในตลาด EU อีกทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อมุ่งสู่สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง

  ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย ควรมีการปรับเปลี่ยนแผนดำเนินการธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น สนับสนุนเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนสู่การทำเกษตรอินทรีย์ มีระบบการเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืน มีการปรับปรุงด้านสวัสดิภาพสัตว์ และพัฒนาอาหารใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในด้านความยั่งยืน พร้อมทั้งต้องมีการสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ด้วยความชัดเจน นอกจากนี้ หากนำฉลากอาหารด้านความยั่งยืนที่มีความน่าเชื่อถือมาใช้ จะช่วยให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจและเต็มใจที่จ่ายเงิน อีกทั้งส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ เพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันทางค้า รวมทั้งลดอุปสรรคจากการกีดกันทางการค้าด้วย

ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

 ในส่วนของภาครัฐ ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร และผู้บริโภค ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อาหารในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนในการทำเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

ทั่วโลกตื่นตัวPackageรักษ์โลก สนค.แนะผู้ประกอบการปรับตัว

เช่น เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำเข้าเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดการใช้พลังงาน การพัฒนาวัสดุทดแทนที่มีความยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการลดสิ่งสะสมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการส่งเสริมให้มีฉลากความยั่งยืนแบบสมัครใจที่จะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสามารถปรับตัวและพัฒนาการสร้างความยั่งยืนในระดับที่สูงขึ้นเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้