รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการอิสระ เปิดเผยถึงกรณีที่สหรัฐฯกับเวียดนามบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการให้เวียดนามเป็นฐานผลิตเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหญ่ของสหรัฐฯในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ดีลนี้ จะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยตามหลังเวียดนามมากพอสมควร
ทั้งนี้เพราะความสนใจในการลงทุนจากต่างชาติจะจับจ้องไปที่เวียดนาม เสียเปรียบเรื่อง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) รวมถึงแรงงานคุณภาพจะเกิดขึ้นที่เวียดนามมหาศาล และถ้าต่อยอดได้ถูกทาง เทคโนโลยีต่าง ๆ ในอนาคต ไทยเราก็จะตามไม่ทันเช่นกัน
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสนใจว่า ทำไมในการแถลงนโยบายของรัฐบาล ถึงไม่มีการพูดถึงแผนต่าง ๆ เหล่านี้เลย ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะ 4 เรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่
สำหรับดีลการร่วมลงทุนระหว่างสหรัฐและเวียดนาม เกิดขึ้นแล้วหลายความร่วมมือ เช่น แอมคอร์ สร้างโรงงานประกอบและทดสอบชิป มูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนต.ค.นี้ , Intel สร้างโรงงานประกอบชิปทางใต้ของเวียดนาม มูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เป็นโรงงานใหญ่ที่สุดในโลกของบริษัท)
หรือ เวียดนาม แอร์ไลนส์ ซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 737 แม็กซ์ 50 ลำ คิดเป็นมูลค่าราว 7,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และฮันนี่เวลล์ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐ จะร่วมมือกับหุ้นส่วนในเวียดนาม โครงการนำร่องเพื่อพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่แห่งแรกในเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม เซมิคอนดักเตอร์ นั้น ถือเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ผลิตชิปเซ็ต เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบของเทคโนโลยีแทบทุกชนิด โดยในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ นำเข้าชิปเซ็ตกว่า 4,680 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (165,000 ล้านบาท) ขยายตัว 17% จากปีก่อน เป็นชิปเซ็ตจากเอเชีย 83%
โดยกลุ่มประเทศอาเซียนที่ส่งออกชิปเซ็ตไปสหรัฐฯ ได้แก่ ไทย มูลค่า 421.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (14,300 ล้านบาท) เติบโต 62.3% , เวียดนาม เติบโต 74.9% และกัมพูชา เติบโต 697.9%
สำหรับ ประเทศที่ส่งออกชิปเซ็ตไปสหรัฐฯ มากที่สุดในโลก ได้แก่ มาเลเซีย สัดส่วน 20% รองลงมาคือ ไต้หวัน สัดส่วน 15.1% และ เวียดนาม ที่ครองสัดส่วน 11.6% ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขปัจจุบัน ยังไม่รวมดีลในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น