เปิดหลักเกณฑ์เยียวยาเกษตรกร กรณีประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน 2566

01 ต.ค. 2566 | 23:49 น.

เปิดเหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเยียวยาเกษตรกร กรณีเกิดเหตุการณ์ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน 2566 หลังล่าสุดในหลายพื้นที่เกิดฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก ส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 จากกรณีที่เกิดเหตุฝนตกหนักน้ำไหลท่วมไหลบ่าในเขตพื้นที่การเกษตรของประชาชน ส่งผลต่อการเกษตรในหลายอำเภอในหลายจังหวัดได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง  เมื่อพลิกไปดูหลักเกณฑ์และมาตรการเยียวยาเกษตรกรให้ความช่วยเหลือด้านเกษตรประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พบว่า หากเกษตรกร ได้รับผลกระทบกรณีเกิดประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการช่วยเหลือ ประกอบด้วย

ด้านพืช ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่

  • ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท
  • พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท
  • ไม้ผล ไม้ยืนต้น และอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท

 

ด้านประมง (สัตว์น้ำ)

  • ปลาทุกชนิด/สัตว์น้ำอื่น ไร่ละ 4,682 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่
  • กุ้ง/หอยทะเล ไร่ละ 11,780 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่
  • กระชัง/บ่อซีเมนต์ตรม. ละ 368 บาท ไม่เกินรายละ 80 ตรม.


ด้านปศุสัตว์

  • โค ตัวละ 13,000 - 35,000 บาท (ไม่เกินรายละ 5 ตัว)
  • กระบือ ตัวละ 15,000 - 39,000 บาท (ไม่เกินรายละ 5 ตัว)
  • สุกร ตัวละ 1,500 - 3,000 บาท (ไม่เกินรายละ 10 ตัว)
  • แพะ/แกะ ตัวละ 1,500- 3,000 บาท (ไม่เกินรายละ 10 ตัว)
  • ไก่พื้นเมือง/ไก่งวง ตัวละ 30-80 บาท (ไม่เกินรายละ 300 ตัว)
  • ไก่ไข่/เป็ดไข่ ตัวละ 30 - 100 บาท รายละไม่เกิน 1,000 ตัว)
  • ไก่เนื้อ ตัวละ 20 - 50 บาท (ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว)
  • เป็ดเนื้อ/เป็นเทศ ตัวละ 30 - 80 บาท (ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว)
  • นกกระทา ตัวละ 10 -30 บาท (ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว)
  • นกกระจอกเทศ ตัวละ 2,000 บาท (ไม่เกินรายละ 10 ตัว)
  • ห่าน ตัวละ 100 บาท (ไม่เกินรายละ 300 ตัว)

เปิดหลักเกณฑ์เยียวยาเกษตรกร กรณีประสบภัยพิบัตฉุกเฉิน2566

 

เมื่อเร็ว ๆนี้  กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงพื้นที่ผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน พบพื้นที่การเกษตรจำนวน 9 อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานีได้รับผลกระทบ ได้แก่ อำเภอม่วงสามสิบ วารินชำราบ เดชอุดม เมืองอุบลราชธานี ตระการพืชผล เหล่าเสือโก้ก ดอนมดแดง เขื่องใน และตาลสุม จำนวน 56 ตำบล 296 หมู่บ้าน/ชุมชน 10,572 ครัวเรือน แยกเป็น ด้านการดำรงชีพ ได้รับผลกระทบ 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ จำนวน 3 ตำบล 26 ชุมชน/หมู่บ้าน 913 ครัวเรือน 3,218 คน ราษฎรอพยพ 18 ชุมชน 301 ครัวเรือน 1,079 คน แยกเป็นจุดพักพิงชั่วคราว 15 จุด 269 ครัวเรือน 997 คน พักบ้านญาติ 32 ครัวเรือน 85 คน

ด้านการเกษตร พื้นที่การเกษตร ได้รับผลกระทบ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอม่วงสามสิบ วารินชำราบ เดชอุดม เมืองอุบลราชธานี ตระการพืชผล เหล่าเสือโก้ก ดอนมดแดง เขื่องใน และตาลสุม แบ่งเป็น ด้านพืช ได้รับผลกระทบในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอม่วงสามสิบ วารินชำราบ เดชอุดม เมืองอุบลราชธานี ตระการพืชผล เหล่าเสือโก้ก ดอนมดแดง เขื่องใน และตาลสุม รวมจำนวน 47 ตำบล 204 หมู่บ้าน เกษตรกรผู้ประสบภัยฯ จำนวน 6,793 ครัวเรือน พื้นที่ประสบภัยที่คาดว่าจะเสียหายรวมทุกชนิดพืช จำนวน 46,387.75 ไร่ แบ่งเป็น

1. ข้าว จำนวน 44,993 ไร่

 2.พืชไร่และพืชผัก จำนวน 724.25 ไร่

 3.ไม้ผลไม้ยืนต้น และอื่น ๆ จำนวน 670.50 ไร่

วงเงินที่คาดว่าจะให้ความช่วยเหลือ 64,438,819 บาท โดยประมาณการตามหลักเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือฯ ด้านประมง ได้รับผลกระทบ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนมดแดง ม่วงสามสิบ รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน เกษตรกร 22 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 25.70 ไร่ และ ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี ม่วงสามสิบ วารินชำราบ และตระการพืชผล รวมพื้นที่ 8 ตำบล 17 หมู่บ้าน 8 ชุมชน เกษตรกรได้รับผลกระทบ 244 ราย การอพยพสัตว์ ประกอบด้วย โค 994 ตัว กระบือ 434 ตัว สุกร 161 ตัว ไก่พื้นเมือง 5,972 ตัว ไก่ไข่ 12 ตัว ไก่เนื้อ 1 ตัว เป็ดไข่ 8 ตัว เป็ดเนื้อ 2,917 ตัว แพะ 2 ตัว นกกระทา 4 ตัว ห่าน 1 ตัว รวม 10,506 ตัว และแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้รับความเสียหาย จำนวน 71 ไร่.

หลักเกณฑ์เยียวยาเกษตรกรกรณีภัยพิบัติฉุกเฉิน (คลิก)