ปัญหาเรื่องฝุ่นละออง PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีข้อสั่งการให้เตรียมการรับมือแก้ไขหรือจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในทุกมิติ
ทั้งในด้านระบบกลไกการทำงาน ข้อมูล งบประมาณ กฎระเบียบ และการสื่อสาร ซึ่งที่ผ่านมา คพ.ได้จัดตั้งสถานีติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศทั่วประเทศจำนวน 96 สถานี โดยอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร จำนวน12 สถานี และมีการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ล่วงหน้า 7 วัน เพื่อแจ้งเตือนในการบริหารจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 และเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพของประชาชน
นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ.) กล่าวว่า เพื่อการคุ้มครองและดูแลสุขภาพของประชาชนเชิงรุก ให้ปลอดภัยจากมลพิษฝุ่นละออง PM25 คพ.ได้สนับสนุนข้อมูลการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ฝุ่นละออง PM2.5 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร
ให้กับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือในโครงการวิจัยโครงการพยากรณ์ล่วงหน้าผลกระทบระยะเวลาสั้นด้านสุขภาพของประชาชนจากความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการด้วย คือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรุงเทพมหานคร และ คพ. โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ
โครงการพัฒนาระบบพยากรณ์ล่วงหน้าผลกระทบระยะเวลาสั้นด้านสุขภาพของประชาชนจากความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2 :) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะเป็นระบบพยากรณ์ผลกระทบต่อสุขภาพล่วงหน้า ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อคาดการณ์ว่าจะมีการเจ็บป่วยของประชาชนจากฝุ่นละออง PM2s เพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยเพียงใดล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน
ผลที่ได้จากโครงการนี้ จะเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของประชาชนเชิงรุก และการเรียมความพร้อมของสถานพยาบาลต่าง ๆ ในการให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง PM25 ได้อย่างอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสามารถที่จะใช้เป็นระบบนำร่องเพื่อขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยได้ นายปิ่นสักก์ กล่าว