หลังจากรอลุ้นกันมานานเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ได้หาเสียงไว้ ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2566) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล โดยเริ่มต้นก่อน 2 สาย คือ
1.รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
2.รถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น เปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองสามารถเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ได้ง่ายมากขึ้น ขณะที่ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯก็สามารถเดินทางไปยังปริมณฑลและต่างจังหวัดได้สะดวกมากขึ้นเช่นกัน
อนาคตมีแผนจะสร้างเส้นทางส่วนต่อขยายไปยังชานเมืองจังหวัดอื่น ๆ เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา และราชบุรี เป็นต้น
ปัจจุบันรถไฟสายสีแดงวิ่งให้บริการระยะทางรวม 37.60 กิโลเมตร มีทั้งหมด 13 สถานี ดังต่อไปนี้
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต)
มีจุดเริ่มต้นที่อยู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ไปสิ้นสุดที่สถานีรังสิต เป็นระยะทางทั้งหมด 22.6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 นาที มีทั้งหมด 10 สถานี (นับรวมสถานีกลางบางซื่อ) ได้แก่
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงสายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน)
จุดเริ่มต้นที่อยู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ไปสิ้นสุดที่สถานีตลิ่งชัน เป็นระยะทางทั้งหมด 15 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที มีทั้งหมด 4 สถานี (นับรวมสถานีกลางบางซื่อ) ได้แก่
ล่าสุดมีรายงานว่า ในเวลาประมาณ 11.00 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จะเดินทางไปเปิดใช้อย่างเป็นทางการ ที่สถานีกลางบางซื่อ โดยนายสุริยะ ระบุเบื้องต้นว่า ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า ระบบมีความพร้อมแล้วซึ่งคาดว่า 11.00 น. หรือไม่เกิน 13.00 น. ระบบจะสามารถใช้งานได้
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้โดยสารที่เปลี่ยนรถไฟฟ้าหรือข้ามระบบยังต้องชำระค่าโดยสารสองรอบ เนื่องจากขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ให้ธนาคารทำระบบให้สามารถเชื่อมโยงได้ คาดว่า ประมาณวันที่ 1 พ.ย. 2566 จะสามารถใช้บริการข้ามสายได้