ปัจจุบัน “แรงงานนอกระบบ” หรือ "แรงงานอิสระ" กำลังเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น หลังเกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ทำให้รูปแบบการดำเนินงานเศรษฐกิจมีการปรับตัว จนเกิดรูปแบบการจ้างแรงงานแบบใหม่ การเหมาช่วง ส่งผลให้แรงงานนอกระบบมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเกินครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานทั้งประเทศ
ทั้งที่แรงงานนอกระบบเป็นกำลังแรงงานกลุ่มใหญ่ของประเทศ เป็นผู้ที่มีส่วนสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม ตลอดจนการรวมกลุ่ม รวมตัวในการจัดตั้งองค์กรเพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงาน
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2565 พบว่า จำนวนประชากรรวมของประเทศไทย 66.09 ล้านคน มีจำนวนผู้มีงานทำ 39.6 ล้านคน จำแนกออกเป็นแรงงานในระบบ 19.4 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบ 20.2 ล้านคน คิดเป็น 51% ของผู้มีงานทำทั้งหมด
อีกทั้งยังพบว่า ปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบไว้อย่างชัดเจน ทำให้แรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นกำลังแรงงานกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน หรือการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม รวมถึงการรวมกลุ่ม รวมตัวได้
ดังนั้น เพื่อให้แรงงานนอกระบบได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กระทรวงแรงงานจึงจำเป็นต้องเสนอ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... พร้อมกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นภายใต้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อเป็นทุนในการส่งเสริมการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบให้เป็นไปตามเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ผ่านมา คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้พิจารณาปรับปรุงเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยแก้ไขชื่อพระราชบัญญัติจาก “ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....” เป็น “ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. ....”
ครอบคลุมสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัตินี้ และสอดคล้องกับการแก้ไขถ้อยคำ “แรงงานนอกระบบ” เป็น “แรงงานอิสระ” เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะหรือสภาพการทำงานของแรงงานตามร่างพระราชบัญญัตินี้ที่มีอิสระในการทำงาน ล่าสุดกระทรวงแรงงาน ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นกับผู้ที่มีส่วนได้เสียของทุกภาคส่วนแล้ว และจะสรุปรายละเอียดก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. .... สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
การกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานอิสระตามหลักเกณฑ์ที่ปลัดกระทรวงกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการขึ้นทะเบียนแรงงานอิสระตามวรรคหนึ่ง ให้จัดขึ้นทะเบียนเป็นสองประเภท คือ
โดยให้สำนักงานหรือสำนักงานแรงงานจังหวัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการรวบรวมข้อมูล และสำรวจความต้องการของแรงงานอิสระ โดยให้สำนักงานรวบรวมข้อมูลและประมวลผลสำรวจดังกล่าว และจัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระต่อไป และสำรวจความต้องการของแรงงานอิสระให้ถูกต้องตามมาตรฐานสถิติ
พร้อมกำหนดรายละเอียดของ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพซึ่งไม่มีนายจ้าง ดังต่อไปนี้
ส่วน ผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระ ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
ตามมาตรา 25 ผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งได้ขึ้นทะเบียนมีสิทธิได้รับการส่งเสริม ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นสมาชิกของกองทุนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์อื่น ดังต่อไปนี้
โดยการได้รับสิทธิประโยชน์ให้พิจารณาจากจำนวนเงินและทรัพย์สินของกองทุนและจำนวนเงินค่าสมาชิกที่ส่งเข้ากองทุน ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด
ส่วนผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระซึ่งได้ขึ้นทะเบียน นอกจากมีสิทธิได้รับการส่งเสริมตามมาตรา 25 แล้ว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์อื่น ดังต่อไปนี้
ส่วนการจัดให้มีประกันภัยอุบัติเหตุในการประกอบอาชีพที่มีข้อตกลงคุ้มครองตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนประกาศกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อตกลงคุ้มครอง ดังต่อไปนี้
เช่นเดียวกับ การคุ้มครองสุขภาพหรือประกันภัยเสริมเพิ่มเติมจากประกันภัยอุบัติเหตุในการประกอบอาชีพ และการช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือการดำเนินคดี
เช็ครายละเอียด ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. .... ที่นี่