รัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” ทำงานเข้าสู่เดือนที่ 2 เป็นที่เรียบร้อย พร้อมทยอยคลอดนโยบายที่เคยสัญญาไว้ตอนหาเสียงออกมาแบบนันสต๊อป โดยเฉพาะมาตรการทางด้านภาษี ทั้งการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และ ภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้รัฐต้องสูญเสียรวมกันแล้วเป็นเงินเกือบ 2 หมื่นล้านบาท แต่ก็อยู่บนหลักการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน
สำหรับรายละเอียดของผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ แยกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เป็นผลมาจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 มีมติเห็นชอบปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 2.50 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ครอบคลุมน้ำมันดีเซล 8 กลุ่ม ประกอบด้วย
ทั้งนี้ กรมสรรพสามิต ประเมินว่า การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 2.50 บาทต่อลิตร จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีประมาณเดือนละ 5,000 ล้านบาท รวม 3 เดือน คาดว่าจะสูญเสียรายได้รวมเป็นเงิน 15,000 ล้านบาท
การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำเบนซิน เป็นผลมาจากการประชุมครม. เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีมติเห็นชอบปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน 1 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 ครอบคลุมน้ำมันเบนซิน 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
ทั้งนี้ กรมสรรพสามิต ประเมินว่า การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินลง 1 บาทต่อลิตร จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากภาษีประมาณเดือนละ 900 ล้านบาท รวม 3 เดือน คาดว่าจะสูญเสียรายได้รวมเป็นเงิน 2,700 ล้านบาท
สรุป : หากรวมการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน ลงตามนโยบายรัฐบาล จะทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีรวมแล้วเป้นเงินกว่า 17,700 ล้านบาท