การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าสุด ได้เห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามที่สำนักงบประมาณ เสนอ มีกรอบวงเงินรวม 3.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2566 ซึ่งมีวงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท จำนวน 295,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9.3% โดยหนึ่งในกระทรวงเกรดเอที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในครั้งนี้ และถูกสังคมจับตาคงหนี้ไม่พ้น กระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้จากการตรวจสอบรายละเอียดของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงกลาโหม พบว่า ในปี 2567 กระทรวงกลาโหมได้รับจัดสรรงบประมาณวงเงินรวม 198,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ได้รับจัดสรร 194,498 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3,821 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วน 1.96% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
สำหรับรายละเอียดของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของทุกหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ โดยไล่เรียงกรอบวงเงินที่ได้รับการจัดสรรสูงที่สุด 32 รายการ มีดังนี้
1.งบกลาง รวม 11 รายการ 603,256 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 12,795 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.17%
2.กระทรวงมหาดไทย 353,127 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 27,881 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.57%
3.กระทรวงศึกษาธิการ 328,384 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,010 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.31%
4.กระทรวงการคลัง 327,155 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 42,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.73%
5.ทุนหมุนเวียน 237,342 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 30,523 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.76%
6.กระทรวงกลาโหม 198,320.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3,821.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.96%
7.กระทรวงคมนาคม 183,635 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3,322 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.84%
8.รัฐวิสาหกิจ 167,945 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5,026 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.09%
9.กระทรวงสาธารณสุข 165,726 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13,462 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.84%
10.กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 127,546 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,990 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.40%
11.ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี 127,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,738 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.19%
12.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 118,596 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 9,537 ล้านบาท หรือลดลง 7.44%
13.รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 118,361 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 118,361 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 100%
14.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 101,254 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 14,797 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17.11%
15.กระทรวงแรงงาน 61,658 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7,332 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 13.50%
16.สำนักนายกรัฐมนตรี 34,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,367 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.35%
17.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 33,231 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,777 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9.12%
18.กระทรวงยุติธรรม วงเงิน 25,987 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบ 2566 จำนวน 1,384 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.63%
19.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 25,327 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 711 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.89%
20.หน่วยงานของศาล 24,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,778 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.68%
21.จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 23,076.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,575.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.33%
22.หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ 22,915.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3,418.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17.53%
23.กระทรวงการต่างประเทศ 9,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,453 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.23%
24.สภากาชาดไทย 8,867 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.15%
25.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 8,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,041 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30.08%
26.ส่วนราชการในพระองค์ 8,478 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 133 ล้านบาท หรือลดลง 1.55%
27.หน่วยงานของรัฐสภา 7,515 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 214 ล้านบาท หรือลดลง 2.78%
28.กระทรวงวัฒนธรรม 7,016 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 281 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.18%
29.กระทรวงพาณิชย์ 6,822 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 378 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.88%
30.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 5,591 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 295 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.59%
31.กระทรวงอุตสาหกรรม 4,559 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 87 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.96%
32.กระทรวงพลังงาน 2,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 134 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.99%
33.หน่วยงานอื่นของรัฐ 600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 122 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 25.74%