วันนี้ (28 พฤศจิกายน 2566) ที่ทำเนียบรัฐบาล ติดตามวาระน่าสนใจที่จะเสนอเข้ามายังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน โดยที่ประชุมเตรียมหารือถึงข้อสรุป “ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ” รวมไปถึงลูกจ้างรัฐ ภายหลังจากมีการหารือเสร็จสิ้นแล้ว และเตรียมสรุปรายละเอียดเสนอมายังที่ประชุมเพื่อพิจารณา
สำหรับแผนการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และลูกจ้างของรัฐ นั้น เป็นไปตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี โดยที่ผ่านมา นั้น นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้หารือกับ 4 หน่วยงานทั้ง สำนักงาน ก.พ. , สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ถึงรายละเอียดเสร็จสิ้นแล้ว
เบื้องต้นมีรายละเอียดที่ชัดเจนแล้วแบ่งเป็น 2 กรณีใหญ่ คือ
สำหรับกรณีแรกนั้น คือ การเสนอของบกลาง จากครม.เพื่อใช้ในการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ที่ผ่านมา แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า วงเงินที่จะนำมาใช้ในการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และลูกจ้างรัฐ รอบนี้ เบื้องต้นจะมีการเสนอที่ประชุมครม.พิจารณาจัดสรรงบกลางมาดำเนินการก่อนในปีแรก เบื้องต้นคาดว่า จะเริ่มขึ้นเงินเดือนข้าราชการในปี 2567
ส่วนในปีงบประมาณต่อไป หน่วยงานต่าง ๆ จะตั้งวงเงินเอาไว้อยู่ในงบประมาณ ซึ่งเป็นงบประจำของแต่ละหน่วยงาน เพราะปัจจุบันรายละเอียดของงบประมาณรายจ่ายปี 2567 ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างจัดทำงบประมาณ เพื่อเสนอต่อรัฐสภาในต้นปีหน้า ดังนั้นจึงทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่ได้ตั้งงบไว้รองรับการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ในงบประมาณนี้
ส่วนกรณีการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อย นั้น ที่ผ่านมามีแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุกับฐานเศรษฐกิจว่า การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการครั้งนี้ จะไม่ขึ้นแบบทั้งกระดาน เพราะจะทำให้กระทบต่องบประมาณของรัฐเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสนล้านบาท จึงต้องเลือกการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการในกลุ่มของข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีเงินเดือนไม่มากก่อน ส่วนข้าราชการระดับสูงอาจต้องรอในปีต่อ ๆ ไป
ขณะที่ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หนึ่งในหน่วยงานสำคัญที่เข้าหารือกับรองนายกฯ ปานปรีย์ นั้น ระบุว่า การขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะไม่ใช่ขึ้นเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ แต่อาจดูไปที่ระดับข้าราชการเข้าใหม่แรกบรรจุ ที่มีฐานเงินเดือนอาจจะต่ำเมื่อเทียบเงินเดือนภาคเอกชน แต่ทั้งหมดคงต้องรอรายละเอียดและวิธีการเสนอเข้าครม. ก่อน จึงจะได้ข้อสรุป
ก่อนหน้านี้ ฐานเศรษฐกิจ รวบรวมตัวเลขของจำนวนข้าราชการ จากข้อมูลของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รายงานภาพรวมกำลังคนภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2565 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนกำลังคนภาครัฐรวมทั้งสิ้น 3,199,106 คน แบ่งเป็น