เวลานี้ ค่าแรงขั้นต่ำ 2567 ของไทย ทั้ง 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.37% หรือ 345 บาทต่อวัน แบ่งเป็น 17 อัตรา ภูเก็ต ได้ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นสูงสุด 16 บาท เป็นวันละ 370 บาท ส่วน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ที่ยากจนและมีปัญหาความรุนแรง ได้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่ำสุดวันละ 2 บาท เป็น วันละ 330 บาท
อัตรานี้มาจากมติคณะกรรมการไตรภาคีที่ประกอบไปด้วย ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายข้าราชการประจำ ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2566 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะนำเอามติของที่ประชุมมารายงานให้ที่ประชุม ครม.รับทราบก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
แต่ นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ไม่พอใจ บอกว่า ปรับขึ้นน้อยไม่ใกล้เคียงตัวเลข 400 บาทต่อวัน ตามที่เคยประกาศไว้ว่าในช่วงต้นปี 2567 ค่าแรงขั้นต่ำควรจะขยับเพิ่มขึ้นในตัวเลขนี้ก่อนจะไปถึงเป้าหมาย 4 ปีของพรรคเพื่อไทยที่วันละ 600 บาท ซึ่งเพิ่งจัดตั้งรัฐบาลผสมหลังการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2566 รัฐบาลได้ระบุว่าตั้งแต่นั้นมาค่าแรงขั้นต่ำอาจไม่ถึง 600 บาท ภายในปี 2570 แต่จะใกล้เคียงกับอัตรานั้นเนื่องจากมีการปรับขึ้นทุกปี
อัตราค่าแรงขั้นต่ำของไทย จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีสภาพเศรษฐกิจ สังคม ขนาดอุตสาหกรรม และความจำเป็นต่างกัน ในการใช้แรงงานที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเจาะเฉพาะ "ค่าแรงขั้นต่ำจังหวัดอุบลราชธานี" ย้อนสถิติ 6 ปี 2561 , 2563 , 2565, 2567 ค่าจ้างขยับขึ้น 20 บาท
ค่าแรงขั้นต่ำปี 2561
ค่าแรงขั้นต่ำปี 2563
ค่าแรงขั้นต่ำปี 2565
ค่าแรงขั้นต่ำปี 2567
ข้อมูลของจังหวัดอุบลราชธานี มีประชาการ 1,860,338 คน ( ธค.2564) เป็นอันดับ 3 ของไทย โดยมี GPP อันดับ 3 ของภาคอีสาน รายได้ 120,494 ล้านบาท รายได้ต่อหัว/ปี เฉลี่ย 75,551 บาท ขยายตัวร้อยละ 4.2% (2560)
สถานการณ์แรงงานของจังหวัดอุบลราชธานี ไตรมาส 3 ปี 2566
สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ประชากรวัยแรงงาน ไตรมาส 3 ปี 2566 จังหวัดอุบลราชธานี มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงาน หรือ ผู้ที่มีอายุ15 ปีขึ้นไป จำนวน 1,419,946 คน
ผู้อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 848,777 คน ประกอบด้วย
ผู้อยู่นอกกำลังแรงงานจำนวน 571,169 คน
การมีงานทำ
ผู้มีงานทำในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 843,594 คน คิดเป็น ร้อยละ 59.41 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
การว่างงาน จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้ว่างงาน ประมาณ 2,652คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.31
แรงงานนอกระบบ
จากข้อมูล ปี 2565 มีแรงงานนอกระบบ จำนวน 699,121 คน (ร้อยละ 81.37) ของประชากรที่มีงานทำ ส่วนใหญ่จะทำงานในภาคเกษตร จำนวน 496,682 คน (ร้อยละ 71.04) นอกภาคเกษตรจำนวน 202,439 คน (ร้อยละ 28.95) ส่วนอาชีพที่มีการทำงานนอกระบบสูงสุด คือด้านเกษตรและประมง