15 ธันวาคม 2566 เริ่มวันแรกเปิดผับถึงตี 4 นำร่อง 5 จังหวัด คลิกอ่านด่วน

15 ธ.ค. 2566 | 04:14 น.

15 ธันวาคม 2566 เริ่มวันแรกเปิดผับถึงตี 4 นำร่อง 5 จังหวัดทั่วประเทศ เช็กพิกัดหลังกระทรวงมหาดไทย ลงนามกฏกระทรวง ส่งผลต่อสถานที่ใกล้เคียงที่ตั้งใกล้กับจังหวัดนำร่องแบบถูกกฏหมาย

15 ธันวาคม 2566 วันนี้จะเป็นวันแรกเปิดผับถึงตี 4  ภายหลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรั ฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามในร่างกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิด และ ปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  รอก็แต่เพียงราชกิจจานุเบกษาประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยคาดว่าจะบังคับใช้ตามกรอบเวลาที่นายกรัฐมนตรีเคยประกาศไว้ที่จะเริ่มในวันที่ 15 ธันวาคม 2566

นำร่อง 5 จังหวัด

เปิดผับถึงตี 4 นำร่อง 5 จังหวัด ดังนี้

  • กรุงเทพมหานคร
  • จังหวัดภูเก็ต
  • จังหวัดชลบุรี
  • จังหวัดเชียงใหม่ 
  • อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

เปิดผับถึง 4 การขยายเวลาครั้งนี้ส่งผลต่อ สถานบริการที่ตั้งที่อยู่ในสถานที่ตั้งโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมทั่วประเทศ ก็สามารถเปิดบริการได้ถึง 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น ได้เช่นกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตามกฎกระทรวงฉบับนี้จะขยายเวลาให้สถานบริการในทุกท้องที่ทั่วประเทศสามารถเปิดบริการในคืนส่งท้ายปีเก่า (31 ธ.ค.) ไปจนถึงเวลา 06.00 น. ของวันปีใหม่ (1 ม.ค.) ได้ด้วย

15 ธันวาคม 2566 เริ่มวันแรกเปิดผับถึงตี 4

อนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ มติคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เห็นชอบมาตรการรองรับการขยายเวลาเปิดสถานบริการเพื่อลดผลกระทบทางสังคมในกรณีขยายเวลาเปิดบริการ จัดทำคำแนะนำสำหรับสถานบริการที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยอนุญาตให้ขยายเวลาเปิดสถานบริการ ตามพ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2546 ในพื้นที่เป้าหมายโดยสถานบริการต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2546 และพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยเข้มงวดในมาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลดังต่อไปนี้

  • บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ
  • บุคคลที่มีอาการมึนเมาสุราจนครองสติไม่ได้

รวมถึงผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกราย ให้สถานบริการตรวจวัดแอลกอฮอล์ทางลมหายใจก่อนอนุญาตให้ขับขี่ออกจากสถานบริการ

ในกรณีที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ ได้รับการวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดทางลมหายใจแล้วพบว่ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 mg% ให้สถานบริการจัดหาที่พักคอย และอำนวยความสะดวกเพื่อรอให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดทางลมหายใจลดลง ต่ำกว่า 50 mg% จึงอนุญาตให้ขับขี่ออกจากสถานบริการ

หรือในกรณีที่ ผู้ขับขี่ยานพาหนะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 mg% ไม่ยินยอมพักคอย ให้สถานบริการประสานให้เพื่อน/ญาติ ของผู้ใช้บริการขับขี่แทน หรือจัดบริการยานพาหนะเพื่อส่งลูกค้าเดินทางกลับโดยคิดค่าบริการจากผู้ใช้บริการ.