หลังจากที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกฎกระทรวง กำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 และมาตรา 30 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 กำหนดเวลาเปิดทำการตามความในข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6/2 และข้อ 6/3 ถ้าวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 1 มกราคม จะเปิดทำการต่อไปจนถึงเวลา 06.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นนั้นก็ได้"
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/2 และข้อ 6/3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ พ.ศ. 2547
"ข้อ 6/2 สถานบริการที่อยู่ในสถานที่ตั้งโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมให้เปิดทำการได้ ดังนี้
(1) สถานบริการตามมาตรา 3 (1) (3) (4) และ (5) ให้เปิดทำการได้ตามเวลาที่กำหนดในข้อ 1 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แล้วแต่กรณี ถึง 04.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น
(2) สถานบริการตามมาตรา 3 (2) ให้เปิดทำการได้ระหว่างเวลา 11.00 นาฬิกา ถึง 14.00 นาฬิกา และระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น
ข้อ 6/3 สถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือท้องที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เปิดทำการได้ ดังนี้
(1) สถานบริการตามมาตรา 3 (1) (3) (4) และ (5) ให้เปิดทำการได้ตามเวลาที่กำหนดในข้อ 1 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แล้วแต่กรณี ถึง 04.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น
(2) สถานบริการตามมาตรา 3 (2) ให้เปิดทำการได้ระหว่างเวลา 11.00 นาฬิกา ถึง 14.00 นาฬิกา และระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น"
สำหรับกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับทันทีตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ให้นำร่องเปิดสถานบริการถึงตี 4 ในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย
รวมถึงสถานบริการที่ตั้งที่อยู่ในสถานที่ตั้งโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมทั่วประเทศ ให้เปิดบริการได้ถึงเวลา 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้นได้ โดยกฎกระทรวงจะเริ่มผลบังคับทันทีตั้งแต่วันนี้ (15 ธ.ค.66) เป็นต้นไป
ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ.สถานบริการ 2546 และ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 โดยเข้มงวดในมาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลดังต่อไปนี้
1.สถานบริการตรวจวัดแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ ก่อนอนุญาตให้ขับขี่ออกจากสถานบริการ
2.วัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดทางลมหายใจแล้วพบว่า มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้สถานบริการจัดหาที่พักคอย และอำนวยความสะดวกเพื่อรอให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดทางลมหายใจลดลง ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จึงอนุญาตให้ขับขี่ออกจากสถานบริการ
3.กรณีที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่ยินยอมพักคอย ให้สถานบริการประสานให้เพื่อน/ญาติ ของผู้ใช้บริการขับขี่แทน
4.จัดบริการยานพาหนะ เพื่อส่งลูกค้าเดินทางกลับโดยคิดค่าบริการจากผู้ใช้บริการ โดยมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลและประเมินผลกระทบจากการขยายเวลาเปิดสถานบริการ
ด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุถึงสถานบริการที่สามารถเปิดให้บริการได้ถึงเวลา 04.00 น. ในพื้นที่ กทม. มีรายละเอียดดังนี้
อ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่ กฎกระทรวงกำหนดวันเวลาเปิดปิดของสถานบริการ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2566