การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 6,500ไร่ หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ที่รัฐบาลให้ความสำคัญใช้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ มีหมุดหมายยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันมากถึง 200 ล้านคนต่อปี
จิ๊กซอว์ตัวสำคัญจุดพลุให้เกิดศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเป้าหมาย โดยเฉพาะการเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และ “Logistics & Aviation” รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของมหานครการบินภาคตะวันออกครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมืองโดยรอบสนามบิน รัศมี 30กิโลเมตร จากพัทยาถึงระยอง เพื่อสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศ ส่วนขยายของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปทางตะวันออก ด้านโครงข่ายทาง บก รางน้ำ อากาศ ผลักดันให้ไทยเป็น ศูนย์กลางทางการบินและประตูเศรษฐกิจสู่เอเชีย
นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนลเอวิเอชั่นจำกัด หรือ UTA บรรยายในหัวข้อ Next Step ลงทุนไทย ในงานสัมมนา GO THAILAND 2024 GREEN ECONOMY LANDBRIDGEโอกาสทอง? จัดขึ้นโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท เมื่อวันที่ 20ธันวาคม2566ว่า
การลงทุนในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เกิดจากการรวมกลุ่มมาจากเอกชน3 บิรษัท ได้แก่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
โดยได้รับสัมปทาน มูลค่า และตั้งเป็น บริษัท UTA มีภารกิจสำคัญในการก่อสร้างสนามบิน และเมืองการบินภาคตะวันออกที่มีพื้นที่ติดกับสนามบินอู่ตะเภาจิ๊กซอว์ ตัวสุดท้ายเติมเต็ม ตามโจท์ เขตอีอีซี ที่มี โครงข่ายถนน ท่าเรือ รถไฟความเร็วสูง และ สนามบิน ที่อนาคต เป็นฮับการบินให้บริการผู้โดยสารและขนส่งสินค้ายกระดับการพัฒนาเป็นมหานครการบิน 24ชั่วโมงรองรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกและดึงคนเข้าพื้นที่ใช้ชีวิต ทำธุรกิจในเมืองดังกล่าว ที่อาจได้เปรียบ สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิที่มีเวลาปิด-เปิดให้บริการ เนื่องจากตั้งอยู่กลางชุมชนใหญ่
แผนพัฒนา สนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก มีเป้าหมาย 50 ปี มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน อีกทั้งในปีที่ 10 สนามบินแห่งนี้ จะสร้าง ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) 2.6 แสนล้านต่อปี และอีก 40 ปีข้างหน้า จะสร้าง GDP 15 ล้านล้านบาทต่อปี อีกทั้งจะสร้างภาษีให้รัฐปีที่ 10 มูลค่า 1.8 แสนล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงาน 3 แสนคน จากการเปิดเป็นเมืองท่าตลอด 24 ชั่วโมง และผลักดันโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องไปกับแผนสร้างเมืองสีเขียว ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2573
ที่จะบรรจุแผนขับเคลื่อนการคมนาคมสีเขียว การรักษาวิถีชุมชนโดยรอบ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม และไม่ขาดน้ำ มีการบริหารจัดการน้ำเสีย 80% ต้องได้รับการบำบัด การออกแบบ และพัฒนา อาคารทันสมัยควบคู่ไปกับ การออกแบบที่เน้นธรรมชาติ สร้างทะเลสาบยาว 1 กิโลเมตร มีพื้นที่กรีนสเปซ มีเป้าหมายใช้ยานยนต์อีวีทั้งเมือง และเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ร่นระยะเวลา จาก 2 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมง ช่วยลดคาร์บอนได้มาก ด้านการบิน มีแผน ลดปัญหาการบินวน 1 ไฟล์ตใช้เวลา 20 นาที ช่วยลดคาร์บอนได้ 2.5 ตัน โดยสรุปโครงการที่ทุกคนจะเห็นเปิดให้บริการในอีก 5 – 6 ปีข้างหน้า จะเป็นกรีนแอร์พอร์ต และกรีนซิตี้
ขณะแผนพัฒนาโครงการ การคาดว่า จะออกหนังสืออนุญาตเข้าพื้นที่ (NTP) เริ่มตอกเสาเข็มช่วงครึ่งปีหลัง ปี2567 การเจรจาสิทธิประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนโครงการนี้ คาดจะจบภายในเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ปีหน้า
เหนือสิ่งอื่นใด ต้องการให้ โครงการรถไฟความเร็วสูง ก่อสร้างไปพร้อมกันจิ๊กซอว์ ตัวสุดท้าย แม่เหล็กดึงนักลงทุนเข้าพื้นที่อีอีซี
ข่าวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ