ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพลวัตที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านของระบบเศรษฐกิจไปสู่โลกยุคดิจิทัล โดยพบว่าระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้สร้างโอกาสให้กับคนไทยในหลายมิติได้แก่
"ภาครัฐและผู้วางนโยบายไม่สามารถที่จะชะล่าใจได้ เพราะการเปลี่ยนผ่านไปสู่ digital economy ก็ได้สร้างความท้าทายใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจ"
อย่างไรก็ดี ยังได้มีการศึกษาวิจัยครัวเรือนไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการ digital banking และความสำเร็จในการประกอบธุรกิจผ่าน e-commerce platform พบว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนไทยสามารถอยู่ดีมีสุขและร่ำรวยในโลกดิจิทัลได้นั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องส่งเสริมให้คนไทยมี digital literacy และ financial literacy ที่เพียงพอด้วย
นอกจากนี้ จากการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งได้สำรวจครัวเรือนไทยทั่วประเทศไทยมากกว่า 2,000 ตัวอย่าง พบว่าครัวเรือนไทยที่มีระดับ digital literacy สูง จะมีการใช้บริการ digital banking ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น มีการเปิดบัญชี mobile banking หลายบัญชี มีการใช้บริการ e-wallet และมีการทดลองค้าขายผ่านช่องทาง e-commerce
โดยคุณลักษณะของประชากรไทยที่จะมีระดับ digital literacy สูงจะเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่อยู่ในเจเนอเรชั่น millennials และ Gen-Z มีระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีเป็นต้นไป และประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รับราชการ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว
อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาระดับ financial literacy โดยการใช้แบบทดสอบของ OECD พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ขาดทัศนคติด้านบริหารการเงินค่อนข้างมาก ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถมีพฤติกรรมด้านการออมและการกู้ยืมที่เหมาะสม ถึงแม้จะมีความรู้ด้านการเงินเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ หรืออัตราดอกเบี้ยก็ตาม
"จากผลการวิจัยแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันว่าคนไทยที่มีระดับ digital literacy สูงจะมีพฤติกรรมที่ชอบแสวงหาการลงทุนและการออมจากการหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างมั่นใจในการลงทุนและการออม มีการใช้ mobile banking เพื่อบริหารบัญชีเงินฝาก โดยการแยกเงินฝากตามวัตถุประสงค์การใช้เงินอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเกียรติ กล่าวอีกว่า financial literacy ที่สูงจะช่วยให้คนไทยมีระดับการออมและการลงทุนที่สูงขึ้น โดย digital literacy สูงยังช่วยให้เกิด digital transformation ในการค้าขายผ่าน e-commerce platform มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือการทำการตลาดดิจิทัล จึงทำให้ครัวเรือนไทยที่เป็น micro-enterprise จะมีผลการดำเนินงานที่มีการเติบโตของยอดขายอย่างโดดเด่น มีอัตราการทำกำไรที่สูง และมีช่องทางขายที่หลากหลาย