วันที่ 3 มกราคม 2567 ที่รัฐสภา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลุกขึ้นชี้แจงร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 มกราคม 2567 แบ่งออกเป็นฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ 20 ชั่วโมง ว่า หลักการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนไม่เกิน 3,480,000,000,000 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจำนวน 3,361,638,869,500 บาท เพื่อชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน 118,361,130,500 บาท
นายเศรษฐากล่าวว่า เหตุผลเพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่รัฐบาลนำเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน นโยบายของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
นายเศรษฐากล่าวว่า
นายเศรษฐากล่าวว่า โดยรัฐบาลได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
นายเศรษฐาสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,480,000 ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 2,532,826.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 72.8 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 118,361.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 รายจ่ายลงทุน จำนวน 717,722.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.6 และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 118,320.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 ทั้งนี้รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 7,230.2 ล้านบาท
นายเศรษฐากล่าวว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำแนกตามกลุ่มงบประมาณ ดังนี้ งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 606,765.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.4 ของวงเงินงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 1,150,144.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.0 ของวงเงินงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายบุคลากร รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 785,957.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.6 ของวงเงินงบประมาณ
งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 257,790.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.4 ของวงเงินงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 346,380.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.0 ของวงเงินงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 118,361.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.4 ของวงเงินงบประมาณ
นายเศรษฐากล่าวว่า งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ รัฐบาลกำหนดไว้ จำนวน 214,601.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 ของวงเงินงบประมาณ จำนวน 10 เรื่อง ได้แก่
นายเศรษฐากล่าวว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีจำนวน 11,125,428.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 โดยหนี้สาธารณะที่เป็นข้อผูกพันของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินโดยตรง และการค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 10,537,912.7 ล้านบาท
นายเศรษฐากล่าวว่า ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 297,093.6 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
นายเศรษฐากล่าวว่า ฐานะและนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ถูกปรับให้สูงขึ้น โดยใช้สมมุติฐานว่าสภาพเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวด้วยดี โดยจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในการประชุมเมื่อเดือนกันยายน 2566 นั้น อาจเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน
นายเศรษฐากล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ยังอยู่ที่ระดับต่ำที่ร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งน้อยกว่าประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยลดลงมาจากที่อยู่ในระดับที่สูงในปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนจากสภาพเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวลง
นายเศรษฐากล่าวว่า ในปี 2567 สภาพเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะประสบกับแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ภาระหนี้สินครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ความเสี่ยงจากการชะลอตัวของการค้าโลก และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า จะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจ และภาวะทางการเงินตึงตัว ที่ต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับนโยบายที่อาจได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายของภาครัฐ
นายเศรษฐากล่าวว่า มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 มีจำนวน 211,750.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.74 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง
นายเศรษฐากล่าวอภิปรายสรุปว่า งบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. 2567 นี้มีงบประมาณรายจ่าย 3,480,000 ล้านบาท โดยจะมีที่มาจากรายได้ที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ 2,787,000 ล้านบาท และเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 693,000 ล้านบาท แม้ว่างบประมาณรายจ่ายปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากขึ้นกว่าร้อยละ 11.9 ทำให้สามารถจัดสรรงบไปลงทุนได้กว่า 717,722.2 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 4.1 และสามารถชดใช้เงินคงคลังและชำระคืนต้นเงินกู้ได้กว่า 118,361.1 ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งจะทำเป็นการเตรียมพร้อมทำให้รัฐบาลมีกรอบในการลงทุนในระยะกลางและยาวมากขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อีกด้วย
นายเศรษฐากล่าวว่า การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินนโยบายทั้งในระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว โดยรัฐบาลจะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ลงทุนเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นไปตามกฎหมาย