วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์เกิน 7 ปี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

13 ก.พ. 2567 | 00:30 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.พ. 2567 | 04:26 น.

วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์เกิน 7 ปี เพื่อชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต พร้อมขั้นตอนลงทะเบียน แบบไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกรมการขนส่งทางบก

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี เป็นประจำทุกปีที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ รถประเภทอื่นๆ จะต้องชำระภาษีกับทางกรมการขนส่งทางบก นอกเหนือไปต่อภาษีรถยนต์ได้ด้วยตนเองแล้ว กรมการขนส่งทางบกยังเปิดให้ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์เกิน 7 ปี

ต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี ใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำหรับเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี มีความใกล้เคียงกับการต่อภาษีรถอายุน้อย แต่มีเอกสารบางอย่างเพิ่มเติมเข้ามานั่นคือ หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) ฉะนั้นเพื่อที่จะได้ไม่เสียเวลาในการหาเอกสารให้ยุ่งยาก ตามมาดูลิสต์เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมกัน

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงหรือสำเนา)
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้น)
  • พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันต่อภาษีรถ

 

 

 

 

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์รถเกิน 7 ปี

1.วิธีการ  

  • เข้าเว็บไซต์ eservice.dlt.go.th 
  • ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน
  • กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ  
  • กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ    พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) 

 เลือกวิธีชำระเงิน ได้แก่  

  • หักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ      
  • อินเทอร์เน็ตกับธนาคาร/หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ)     
  • ชำระด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (ต้องเป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์
  • VISA , MASTER)   
  •  พิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วม  โครงการ 
  • กรมการขนส่งทางบก จะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และ กรมธรรม์    
  • พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์   
  • สามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกได้ ณ หน่วยงานทะเบียน  กรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ     

ต่อทะเบียนรถออนไลน์เกิน 7 ปี

2.รถที่จะใช้บริการ   

  •  รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล       
  • รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี   
  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี  
  •  เป็นรถจดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้    
  • รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน     

3.ค่าบริการ      

  •  ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
  •  ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม Vat 7% ของค่าธรรมเนียม     

4.ธนาคาร/หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ 

  •  บริการหักบัญชีออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ยูโอบี     
  •  บริการชำระด้วยบัตรเครดิตออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา        
  • บริการรับชำระตามใบแจ้งชำระภาษีรถ   
  •  ที่เคาน์เตอร์ธนาคารบริการ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.กรุงเทพ , ธ.ธนชาต , ธ.ก.ส ,ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย , ธ.กรุงศรีอยุธยา , ธ.ทหารไทย , ธ.ยูโอบี , ธ.ไทยพาณิชย์, บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส, ทรู มันนี่ เซอร์วิส และ โลตัส  
  • ชำระที่ตู้ ATM ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.ธนชาต , ธ.กรุงเทพ , ธ.ทหารไทย ,ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย, ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.ยูโอบี และ ธ.ไทยพาณิชย์   
  • บริการรับชำระทางโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ ทรู มันนี่ เซอร์วิส   

หมายเหตุ ส่วนของรายชื่อธนาคารหรือหน่วยงาน อาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง และการทดสอบระบบ.

ที่มา:กรมการขนส่งทางบก