ข้อมูลจาก World of Statistics ได้อ้างอิงข้อมูลจากวิจัย IQ จาก Richard Lynn and David Becker (2009) พบว่าคนญี่ปุ่นมีระดับ IQ เฉลี่ยสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 106.48 รองลงมาเป็นคนไต้หวัน มี IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 106.47 และคนสิงค์โปร์ มี IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 105.9
ส่วนคนจีน มี IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 104.1 อยุ่อันดับที่ 5 ขณะที่คนอเมริกัน มีระดับ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 97.4 อยู่ที่อันดับ 29 ชณะที่คนไทย มี IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 88.87 เป็นอันดับ 64 ของโลก
สำหรับ IQ เฉลี่ยของกลุ่มประเทศในอาเซียน นำโดยสิงคโปร์ มีระดับ IQ เฉลี่ยเป็นอันดับหนึ่งอยู่ 105.89 เป็นอันดับ 3 ของโลก , 2 กัมพูชา 99.75 อยู่อันดับ 15 ของโลก , 3 เมียนมา 91.18 อยู่อันดับ 52 ของโลก ,4 เวียดนาม 89.5 อยู่อันดับ 60 ชองโลก และไทย 88.87 อยู่อันดับ 64 ของโลก
ทั้งนี้ได้มีการจำแนกระดับ IQ โดย David Wechsler ไว้ดังนี้
มากกว่า 130: อัจฉริยะ ฉลาดมากที่สุด
120-129: ฉลาดมาก
110-119: ฉลาดกว่าปกติ
90-109: ฉลาดปานกลาง หรือระดับปกติ
80-89: ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย
70-79: คาบเส้นปัญญาอ่อน
ต่ำกว่า 70: สติปัญญาบกพร่อง
ซึ่งหากนำไปเทียบกับการระดับ IQ แล้วจะเห็นได้ว่าประเทศไทยที่ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 88.87 นั้นอยู่ในระดับที่ ‘ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย’
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ย IQ มาจากพันธุกรรม: งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญต่อ IQ
สภาพเศรษฐกิจ: ประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจดี ประชาชนมีโอกาสได้รับการศึกษาและโภชนาการที่ดี ส่งผลต่อค่าเฉลี่ย IQ
การศึกษา: การศึกษาที่มีคุณภาพช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางปัญญา ส่งผลต่อค่าเฉลี่ย IQ
สุขภาพ: สุขภาพที่ดี โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการทางปัญญา ส่งผลต่อค่าเฉลี่ย IQ
ปัจจัยอื่นๆ: เช่น วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู
อย่างไรก็ดีเลข IQ เป็นเพียงตัวชี้วัดหนึ่ง ไม่สามารถบ่งบอกถึงความฉลาดทั้งหมดของคนได้ และยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต เช่น ทักษะชีวิต, ความมุ่งมั่น, ความขยันและอดทน เป็นต้น