1 มีนาคม 2567 จากปัญหาการจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก.4-10 รุกเข้าไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จนกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง 2 กระทรวง ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การจัดทําแผนที่แสดงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
การกําหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติ อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 หรือพระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (เดิม) โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและมีแผนที่แสดงแนวเขตแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วยซึ่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2504
มีแนวเขตตามแผนที่ แนบท้ายฯ มาตราส่วน 1:250,000 ที่ได้มีการสํารวจรังวัดแนวเขต มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 และได้นําผลการสํารวจรังวัด มาประกอบกับสภาพข้อเท็จจริง แล้วจึงขึ้นรูปเป็นแผนที่ในมาตราส่วนที่เหมาะสมจัดทําเป็นแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา
ต่อมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ถ่ายทอดเส้นแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ลงบนแผนที่ ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1 : 50,000 ของกรมแผนที่ทหาร ในระบบเชิงเลข (Digital Map) และจัดแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ในรูปแบบดิจิตอล (Shape files) เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้
ปัญหาข้อพิพาทที่ดินและพื้นที่ทับซ้อนต่าง ๆ โดยการจัดทําแนวเขตดังกล่าว เป็นไปตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ดําเนินการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยมาตรฐานระวางแผนที่และแผนที่รูปแปลงที่ดินในที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2550
รวมทั้งได้มีการถ่ายทอดแนวเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาลงในแผนที่มาตราส่วน 1 : 4,000 และแผนที่ระวางมาตราส่วน 1: 50,000 ตามที่ระเบียบกําหนดครบทุกแห่งแล้ว
โดยแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ที่ได้จัดทําขึ้นได้ส่งให้ คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ (One Map) เป็นแผนที่รัฐ ในการดําเนินการปรับปรุงแผนที่แนว เขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4,000 (One Map)
ในคราวประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 ที่ประชุมมติเห็นชอบผลการดําเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4,000 (One Map) กลุ่มที่ 3 จํานวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สระแก้ว สุรินทร์ อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ และเลย
ตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเสนอ แต่เนื่องจากสํานักงาน คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทับซ้อนกับที่เอกชน (เป็นกรณีบริษัท ภูพบฟ้า จํากัด ไม่เกี่ยวกับข้องกับกรณีแปลง ส.ป.ก.) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
เห็นชอบผลการดําเนินการปรับปรุงแผนที่ฯ (One Map) กลุ่มที่ 3 ยกเว้นกรณีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (จังหวัดนครราชสีมาและปราจีนบุรี) ตามที่สํานักงานคณะกรรมการนโยบายทีดินแห่งชาติเสนอ
กรณีปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณที่มีการออกเอกสาร ส.ป.ก. ในท้องที่บ้านเหวปลากั้ง ตําบลหมูสี อําเภอ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ไม่สอดคล้องตรงกันกับแนวเขตของกรมแผนที่ทหาร
เห็นควรให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ (One Map) สํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พิจารณาตามหลักเกณฑ์การพิจารณา One Map ให้ได้ข้อยุติและถูกต้องตามข้อเท็จจริงต่อไป