ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 อัพเดทมาตรการเยียวยาภาครัฐ

24 มี.ค. 2567 | 05:02 น.
อัปเดตล่าสุด :24 มี.ค. 2567 | 05:26 น.

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567 อัพเดทมาตรการเยียวยาภาครัฐ ปรับปรุงภาษีที่ดินและสิ่งปลูก เพื่อกระตุ้นกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567  จากกรณีที่กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย ศึกษาปรับปรุงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้มีประสิทธิ ภาพมากขึ้น โดยพิจารณาจากความคิดเห็นในเชิงบวก เชิงลบของการจัดเก็บภาษีในอัตราปัจจุบัน เพื่อพัฒนาระบบภาษีให้ตอบสนองทั้งฝ่ายผู้ผลิตและผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้มากที่สุด รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับมหภาค

เพราะก่อนหน้านี้ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวระหว่างปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายภาครัฐต่อการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์” ในงาน “อสังหาริมทรัพย์ ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2024”ว่า ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมาตรการด้านภาษี และมาตรการเงินที่สำคัญในปี 2567 รายละเอียดดังนี้

มาตรการด้านภาษี (5 มาตรการ)

1. “ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยกู้ยืม” สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อบรรเทาภาระของผู้มีเงินได้

2. “การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ร้อยละ 90 ของภาษีที่ต้องเสียให้แก่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ไม่เกิน 3 ปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ประกอบการระหว่างการก่อสร้าง

3. “การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” สำหรับทรัพย์ส่วนกลางที่มีไว้เพื่อใช้ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

4. “การขยายเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ในปี 2567 เป็นการทั่วไปออกไปอีก 2 เดือน

5. “มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย” ลดค่าจดทะเบียนการโอนจากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 และลดค่าจดทะเบียนการจำนองจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 ที่จดทะเบียนในปี 2567

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567
 

มาตรการทางการเงิน (2 มาตรการ)

1. “โครงการบ้านล้านหลัง” สนับสนุนประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาที่ไม่สูง โดย ธอส. สนับสนุนสินเชื่อผ่อนปรน วงเงิน 20,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี

2. “โครงการสินเชื่อ Happy Life” สนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง วงเงินกู้ต่อรายตั้งแต่ 2.5 ล้านบาทขึ้นไป ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.98 ต่อปี ดอกเบี้ยต่ำที่สุดในปีแรกที่ร้อยละ 1.95 ต่อปี

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า ภาษีที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปี
ตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคาร ที่ครอบครอง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บ เริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 13 มีนาคม 2562 และจะเริ่มเก็บภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม2563 เป็นต้นไป โดยอัตราภาษีจะค านวณตามประเภทการใช้ประโยชน์ ซึ่งอัตราสูงสุดที่เป็นไปได้อยู่ที่ ปีละ 3% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้ต้องยกเลิกการเก็บภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง และภาษี บำรุงท้องที่ด้วยเนื่องจากซ ซ้ำซ้อนกัน.